กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10596
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาอิสลามศึกษา โรงเรียนกาบังพิทยาคม จังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for development of Islamic study instruction of Kabang Pittayakom School in Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เก็จกนก เอื้อวงศ์
พนา อรัญภาค, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
อิสลามศึกษา--การศึกษาและการสอน--ไทย--ยะลา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาในการจัดการศึกษาอิสลามศึกษา โรงเรียนกาบังพิทยาคม จังหวัดยะลา และ 2) แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาอิสลามศึกษา โรงเรียนกาบังพิทยาคม จังหวัดยะลา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานและวางแนวทางการพัฒนาการศึกษาอิสลามศึกษาของโรงเรียนกาบังพิทยาคม ได้แก่ ครูผู้สอนอิสลามศึกษา จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามในการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาอิสลามศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) ปัญหาในการจัดการศึกษาในด้านปัจจัย พบว่า ครูสอนศาสนาอิสลามศึกษามีไม่เพียงพอ และขาดความมั่นคงในอาชีพ เนื้อหาหลักสูตรมีมากเกินไปและบางเรื่องที่ยากต่อการทำความเข้าใจ ห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ไม่เพียงพอ งบประมาณมีจำกัดและไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน ด้านกระบวนการพบว่า การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับหลักสูตร ขาดการพัฒนาสื่อการสอน การวัดประเมินผลยังไม่หลากหลาย และการนิเทศภายในยังไม่สามารถช่วยพัฒนาการสอนของครูได้ ด้านผลผลิตหรือผลลัพธ์พบว่า นักเรียนบางรายมีผลสัมฤทธิ์ทำในรายวิชาอิสลามศึกษา และไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม และ 2) แนวทางการพัฒนา ด้านปัจจัยพบว่า ควรเพิ่มอัตราครู ผู้สอนหรือจัดหาอาสาสมัครชุมชนที่มีความพร้อมมาช่วยสอน ควรให้คำแนะนำแนวทางในการพัฒนาตนของครูเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านกระบวนการควรมีการพัฒนาการนิเทศให้มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถด้านการสอน ควรจัดหาคณะกรรมการนิเทศที่มีความรู้ด้านอิสลามศึกษามาร่วมเป็นกรรมการนิเทศ ควรมีการจัดตารางการใช้ห้องแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างเหมาะสม ควรบูรณาการการเรียนอิสลามศึกษากับวิชาสังคมศึกษา ควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อจูงใจในการจัดกิจกรรมประกวดสื่อการสอนและนวัตกรรมการสอนที่หลากหลาย ด้านผลผลิตหรือผลลัพธ์ ควรจัดประชุมผู้ปกครองเพื่อร่วมมือกันพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดียิ่งขึ้น ควรนำวิทยากรทางศาสนาอิสลามมาบรรยายความรู้และหลักปฏิบัติตามแนวทางของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10596
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
162220.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons