กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10604
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นำด้านสุขภาพชุมชนของระบบสุขภาพระดับตำบลโดยคลินิกหมอครอบครัว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of characteristic community’s leader of health by primary care cluster
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขัติญพัณศ์ อเล็กซีส กฏอัศญทีปณ์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาวะผู้นำชุมชน--แง่การแพทย์
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาการพัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นำด้านสุขภาพชุมชนของระบบสุขภาพระดับตำบลโดยคลินิกหมอครอบครัวคือการศึกษาเชิงปฏิบัติการใน 1 กลุ่มและทำการทดสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษารูปแบบคุณลักษณะผู้นำสุขภาพด้านชุมชน (2) พัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นำสุขภาพชุมชน (3) เปรียบเทียบรูปแบบคุณลักษณะผู้นำสุขภาพชุมชนก่อนและหลังพัฒนา ประชากรที่ศึกษาคือผู้นำด้านสุขภาพชุมชนระบบสุขภาพระดับตำบล ในตำบลเมืองปักและ ธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย มีผู้นําด้านสุขภาพชุมชนจํานวน 308 คน จากการศึกษาและสุ่มตัวอย่างแบบเป็นลำดับชั้นตามสัดส่วนของประชากร จํานวน 150 คน แต่เข้าร่วม 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ (1) แบบสอบถามคุณลักษณะผู้นำด้านสุขภาพชุมชนระดับตำบล (2) โปรแกรมการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์คุณลักษณะผู้นำ ใน 9 กิจกรรมตามมิติการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและรักษาเบื้องต้น ครอบคลุม 5 กลุ่มวัยโดยคลินิกหมอครอบครัว แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นที่ 0.86 สถิติในการศึกษาคือการทดสอบระหว่างค่ากลางประชากร 2 กลุ่มที่มีการกระจาย 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 87.2) อายุเฉลี่ย 55.8 ปี (1) ก่อนการพัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นำด้านการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม การเกิดคุณค่าในผู้ให้บริการ และการตอบสนองชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนคุณลักษณะด้านการแบ่งปันทรัพยากรอยู่ในระดับต่ำ (2) หลังการพัฒนาพบว่าคุณลักษณะผู้นำด้านการเกิดคุณค่าในผู้ให้บริการอยู่ในระดับสูง ยกเว้นการทํางานเป็นทีม การมีส่วนร่วม และการตอบสนองความต้องการชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (3) ผลการเปรียบเทียบพบว่าเมื่อพัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นําด้านสุขภาพชุมชนโดยใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์แล้วคุณลักษณะการเกิดคุณค่าในผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นในระดับสูง และในภาพรวมทุกด้านมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยคลินิกหมอครอบครัว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10604
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168962.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons