Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10613
Title: การรับสื่อทางการเกษตรของเกษตรกรในอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Agricultural media exposure by farmers in Pra Prom District, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชญาณ์พิมพ์ พรหมจันทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การสื่อสารทางการเกษตร--ไทย--นครศรีธรรมราช
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัดถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การรับสื่อและวัตถุประสงค์ในการรับสื่อทางการเกษตรของเกษตรกร 2) ความคิดเห็นต่อการส่งสริมการเกษตรผ่านสื่อของเกษตรกร 3) ความต้องการรับสื่อทางการเกษตรของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับสื่อทางการเกษตรของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการรับสื่อทางการเกษตรของเกษตรกร ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรในอำเภอพระพรหม ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2562 ทั้งหมด 8,915 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่คำความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 200 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา โดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย 1) การรับสื่อ ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร ในชีวิตประจำวันของเกษตรกรโคยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยช่องทางสื่อที่รับมากที่สุด คือสื่อออนไลน์ รองลงมาคือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และใช้สื่อสิ่งพิมพ์น้อยที่สุด ส่วนวัตถุประสงค์ในการรับสื่อทางการเกษตรของเกษตรกร ได้แก่ เพื่อหาความรู้ทางด้านการเกษตร เพื่อรับข่าวสารทั่วไป การสร้างอาชีพเสริมอื่น ๆ และเพื่อการบันเทิงพักผ่อนหย่อนใจ 2) ด้านความคิดเห็นเกษตรกรให้ความสำคัญต่อด้านการนำสื่อไปใช้มากที่สุด โดยเน้นที่สามารถทบทวนข้อมูลได้ตลอดเวลา มีความรวดเร็วในการนำมาใช้ และมีความสะดวกในการ ใช้งาน รองลงมาคือตัวสื่อ เน้นที่ความทันสมัยของข้อมูล มีภาษาที่เข้าใจง่าย และมีคำบรรยายประกอบใต้ภาพ หรือวีดิโอที่น่าสนใจ มีภาพประกอบเนื้อหาครอบคลุม สีสันสวยงามสนใจ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล 3) เกษตรกรมีความต้องการรับสื่อทางการเกษตรผ่านทางช่องทางสื่อออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และใช้สื่อสิ่งพิมพ์น้อยที่สุด 4) ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับสื่อทางการเกษตรของเกษตรกร พบว่า อายุ การใช้สื่อเพื่อหาความรู้ทางด้านการเกษตรมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนระดับการศึกษา จำนวนแรงงานในการทำการเกษตร และการใช้สื่อเพื่อการสร้างอาชีพเสริม อื่น ๆ จะมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ปัญหาของเกษตรกรในการรับสื่อทางการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาด้านอุปกรณ์มากที่สุด รองลงมาเป็นด้านสื่อเกี่ยวกับช่วงเวลาเผยแพร่ยังไม่เหมาะสม และมีข้อเสนอแนะด้านตัวเกษตรกรคือควรเรียนรู้สื่อได้ด้วยตนเอง มีการใช้งานอยู่เสมอ ส่วนด้านอุปกรณ์ เสนอให้มีความเร็วอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมต่อการใช้งาน มีการอัพเดตอุปกรณ์ให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบัน และด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบของสื่อ เน้นไปที่ความทันสมัยของข้อมูล ขนาดของตัวอักษรอ่านง่ยและมีความครบถ้วนของข้อมูล
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10613
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons