Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10621
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorภทรวรรณ อักษร, 2510--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-11-30T08:26:00Z-
dc.date.available2023-11-30T08:26:00Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10621-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินสภาพแวดล้อมของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตาม ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) ศึกษาปัจจัยที่อิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (4) เสนอกลยุทธ์ในการปรับปรุงระบบงบประมาณตามระบบงบประมาณ แบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านแผนและงบประมาณของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจาก 47 หน่วยงาน จำนวน 305 คน 2) กลุ่มผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 8 คน แล้วทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านแผนและงบประมาณ จำนวน 173 คน คำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลงานวิจัยพบว่า (1) จุดแข็ง คือ เป็นระบบที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จในระดับผลผลิต และผลลัพธ์ ที่เป็นเป้าหมายหลักขององค์การโดยหน่วยงานจะทำการกำหนดกลยุทธ์ แผนงาน แผนปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ จุดอ่อน คือการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ระเบียบด้านการบริหารงบประมาณ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน บุคลากรมีความเข้าใจไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โอกาส คือ การเปลี่ยนกระทรวงใหม่ การมีระบบ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านแผนและงบประมาณใหม่ ส่งผลให้มีการปรับระบบงบประมาณการใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้มีการสร้างเครื่องมือ อุปกรณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น อุปสรรค คือด้านการเมือง การเปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนนโยบาย ส่งผลให้แผนการดำเนินงานและการจัดสรรงบประมาณไม่ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ หรือไม่มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกันเกิดความไม่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน (2) กลุ่มปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบด้านงบประมาณ และ กลุ่มปัจจัยด้านเทคนิคการบริหารภาครัฐแนวใหม่ มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ระดับผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชอยู่ในระดับมาก (4) กลยุทธ์ในการปรับปรุงระบบงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้แก่ ส่งเสริมการปรับระบบงบประมาณในรูปแบบกองทุนตามภารกิจ การปรับปรุงแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงบประมาณ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านแผนและงบประมาณ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--การบริหารth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--งบประมาณth_TH
dc.subjectงบประมาณ--การจัดการth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.title.alternativeFactors influencing the achievement of budget management based on strategic budgeting of Sukhothai Thammathirat Open Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to assess the circumstances of strategic performance – based budgeting system, (2) to study the factors affecting the strategic performance – based budgeting management efficiency and, (3) to study the achievement levels of strategic performance – based budgeting management, (4) to present a strategy for improving the strategic performance – based budgeting management of Sukhothai Thammathirat Open University. This research was a mixed-method research. The population consisted of (1) 305 personnel from 47 departments involving in planning and budgeting, and (2) 8 executives of Sukhothai Thammathirat Open University. The sample were (1) 173 administrators or related officers in planning and budgeting sections, calculated by Taro Yamane formula at 95% confidence interval, (2) 4 executives of the university were selected by purposive sampling technique. The research tools were questionnaires and interviews. The statistics used for quantitative analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and stepwise multiple regression analysis. Meanwhile, qualitative analysis was conducted by analytical description. The findings of this research were (1) Strength was the effective system leading to the success of output and outcome, which was the goal of the organization. Weakness was the knowledge transfer regarding system, regulations and procedures of strategic performance – based budgeting system, which probably led to misunderstanding. Opportunity was the reorganization of the ministry with systematically planning and budgeting management related to the present situation and modern technology. Threat was the organizational politics, changes of executives or policies, which caused the framework and budgeting plan either inconsistent or unresponsive to the national development. (2) The factors regarding rules and regulations and factors regarding New Public Management techniques affecting the achievement of strategic performance – based budgeting management of Sukhothai Thammathirat Open University significantly at 0.05 level. (3) the achievement of strategic performance – based budgeting management of Sukhothai Thammathirat Open University was at a high level. (4) The strategies for improving the system of strategic performance – based budgeting management of Sukhothai Thammathirat Open University were to support mission-based budgeting adjustment, to revise the procedure of budgeting management, to provide information technology for effective budgeting management and to improve personnel skills in terms of knowledge and understanding about planning and budgeting as well as relating regulationsen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม48.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons