Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10621
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Other Titles: | Factors influencing the achievement of budget management based on strategic budgeting of Sukhothai Thammathirat Open University |
Authors: | เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา พนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา ภทรวรรณ อักษร, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--การบริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--งบประมาณ งบประมาณ--การจัดการ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินสภาพแวดล้อมของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตาม ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) ศึกษาปัจจัยที่อิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (4) เสนอกลยุทธ์ในการปรับปรุงระบบงบประมาณตามระบบงบประมาณ แบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านแผนและงบประมาณของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจาก 47 หน่วยงาน จำนวน 305 คน 2) กลุ่มผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 8 คน แล้วทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านแผนและงบประมาณ จำนวน 173 คน คำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลงานวิจัยพบว่า (1) จุดแข็ง คือ เป็นระบบที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จในระดับผลผลิต และผลลัพธ์ ที่เป็นเป้าหมายหลักขององค์การโดยหน่วยงานจะทำการกำหนดกลยุทธ์ แผนงาน แผนปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ จุดอ่อน คือการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ระเบียบด้านการบริหารงบประมาณ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน บุคลากรมีความเข้าใจไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โอกาส คือ การเปลี่ยนกระทรวงใหม่ การมีระบบ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านแผนและงบประมาณใหม่ ส่งผลให้มีการปรับระบบงบประมาณการใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้มีการสร้างเครื่องมือ อุปกรณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น อุปสรรค คือด้านการเมือง การเปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนนโยบาย ส่งผลให้แผนการดำเนินงานและการจัดสรรงบประมาณไม่ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ หรือไม่มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกันเกิดความไม่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน (2) กลุ่มปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบด้านงบประมาณ และ กลุ่มปัจจัยด้านเทคนิคการบริหารภาครัฐแนวใหม่ มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ระดับผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชอยู่ในระดับมาก (4) กลยุทธ์ในการปรับปรุงระบบงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้แก่ ส่งเสริมการปรับระบบงบประมาณในรูปแบบกองทุนตามภารกิจ การปรับปรุงแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงบประมาณ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านแผนและงบประมาณ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10621 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 48.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License