Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10622
Title: | ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุไทย กรณีศึกษาตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | Effectiveness of empowerment program for modifying risk behavior to improve nutritional status of Thai elderly : a case study in Bangtanai Subdistrict, Pak Kret District, Nonthaburi Province |
Authors: | สำอาง สืบสมาน รจนา คาวินพฤติ, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศริศักดิ์ สุนทรไชย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์ โภชนบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ พฤติกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ--โภชนาการ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เปรียบเทียบความแตกต่างด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (2) เปรียบเทียบความแตกต่างด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ (3) เปรียบเทียบความเชื่อมั่นในความสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง และ (4) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฯ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมพลัง อำนาจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำตัวชี้วัดด้านภาวะโภชนาการ ความรู้ และทัศนคติก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของผู้สูงอายุ ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 54 คน โดยความสมัครใจจากสมาชิกชมรมผู้สูงอายุของตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังเข้าโปรแกรมฯ เป็นระยะเวลา 1 เดือน ประเมินภาวะโภชนาการด้วยค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมสูงขึ้นแต่ไม่พบความแตกต่างกัน 2) ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพดีขึ้นแต่ไม่พบความแตกต่างกัน 3) ผู้สูงอายุมีการรับรู้ความสามารถของตนเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ประสิทธิผลของโปรแกรมฯ พบว่าผู้สูงอายุมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริโภคอาหารสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารดีขึ้นแต่ไม่พบความแตกต่างกัน ภาวะโภชนาการมีการพัฒนาที่ดีขึ้นแต่ไม่พบความแตกต่างกัน รวมถึงเส้นรอบเอวผู้สูงอายุเพศหญิงและเพศชายสูงขึ้นแต่ไม่พบความแตกต่างกัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.บ. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10622 |
Appears in Collections: | Hum-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License