Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10624
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินในเขตเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี |
Other Titles: | Factors affecting food consumption behaviors among overweight 4th–6th grade students in Cha-am municipality, Phetchaburi Province |
Authors: | ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์ พิชชานันท์ มะลิทอง, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--เพชรบุรี เด็กน้ำหนักเกิน--โภชนาการ การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในเขตเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน จํานวน 145 คน ใช้วิธีการคำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตร คํานวณขนาดตัวอย่าง กรณีทราบจํานวนประชากร ได้จํานวน 80 คน ใช้วิธีการสุ่มโดยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 โดยผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เลขที่ IRB-SHS2019/1004/55 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และรายงานผล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควเทส ฟิชเชอร์เอ็กแซกเทส และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารภาพรวมอยู่ในระดับไม่ดี คือ นักเรียนมีพฤติกรรมไม่หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้วิธีการผัด ๆ ทอด ๆ และนักเรียนมีพฤติกรรมไม่หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมันหรือเนื้อติดหนัง F = 2.17, S.D. - 0.31) (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่าง คือ เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครอง และระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่าง คือ ปัจจัยด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครอง และปัจจัยด้านระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสมาชิกในครอบครัว มีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเป็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.001 โดยตัวแปรทั้ง 2 ตัวแปร ดังกล่าวสามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกินได้ร้อยละ 18.6 ข้อเสนอแนะในครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางให้บุคลากรสาธารณสุข ครู นําไปใช้ในการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนชั้นประถมศึกษา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10624 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168960.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License