Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10636
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorรชพร จันทร์สว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวันดี เอี่ยมอิศรา, 2533--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-04T02:13:47Z-
dc.date.available2023-12-04T02:13:47Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10636-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis (2) กำหนดกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยใช้เทคนิค TOWS Matrix และ (3) เสนอแนะกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ตัวแทนบุคลากรในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งในจังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ ผู้จัดการ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่ายต่างๆ จำนวน 218 คน ขนาดตัวอย่างคำนวณตามสูตรของยามาเน่ ได้ 141 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ผู้เชี่ยวชาญภายในซึ่งปฏิบัติงาน ในธุรกิจของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญภายนอก นักวิชาการด้านกลยุทธ์ 1 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านจุดแข็ง ลูกค้ามีความมั่นคง ซึ่งสามารถรับสินค้าที่เสนอขายได้ทั้งหมด มีการซื้อขายกันอย่างยาวนาน สินค้าได้รับการยอมรับจากลูกค้าด้านมาตรฐานของสินค้าและการผลิต กระบวนการผลิตสินค้ามุ่งเน้นคุณภาพอย่าง สม่ำเสมอ มีข้อตกลงด้านราคาขายกับลูกค้า ซึ่งสามารถต่อรองกันได้ ด้านจุดอ่อน วัตถุดิบไม่สามารถควบคุมได้ บางช่วงมีจำนวนมากสามารถนำมาแปรรูปได้ แต่บางช่วงวัตถุดิบมีน้อยแปรปรวนไปตามธรรมชาติจำนวนแรงงานที่ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องจ้าง แรงงานสัญชาติพม่าในกระบวนการผลิต ต้องเพิ่มค่าแรงเพื่อรักษาแรงงานเอาไว้ ด้านโอกาส ธุรกิจมีโอกาสการเติบโตไปสู่ตลาดอื่นๆ เพื่อเพิ่มรายได้ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่พัฒนาจากนวัตกรรม และด้านอุปสรรค โรคระบาดทำให้ธุรกิจไม่สามารถส่งออกและจัดหาวัตถุดิบได้ (2) เมื่อใช้เทคนิค TOWS Matrix ในการกำหนดกลยุทธ์ จะได้กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์เชิงรุก คือ เตรียมวางแผนทางการเงิน เป้าหมาย คือ การลงทุนเพิ่มใน AEC จัดการอบรมบุคลากรให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ และความรู้ ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทำการตลาดแบบออนไลน์ ทำแคมเปญใหม่ๆ ตอบสนองลูกค้าในส่วนที่คู่แข่งขันยังไม่เคยทำ ประชุมวางแผนการผลิตและบริการในระยะยาวด้วยเทคโนโลยีต้นทุนต่ำ กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ สื่อสารข้อมูลด้านนโยบายของภาครัฐอย่าง สม่ำเสมอ หาช่องทางสร้างรายได้จากนโยบายภาครัฐเพิ่มเติม วิเคราะห์การตลาดกลุ่มลูกค้าเดิมให้มากที่สุด กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ เตรียมวางแผนเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน ควบคุมระบบการดำเนินงานทั้งระบบอย่างรัดกุม สร้างแอปพลิเคชันสำหรับการติดต่อลูกค้า สื่อสารข่าวสารกบลูกค้าโดยตรงเพื่อหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ กลยุทธ์เชิงรับ คือ ปรับเปลี่ยนหาแนวคิดการประหยัดต้นทุนการผลิต จากนโยบายที่ภาครัฐสนับสนุนในปัจจุบัน และ (3) เสนอแนะให้อุตสาหกรรมใช้กลยุทธ์เชิงป้องกัน โดยกลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้ คือ การเจาะตลาด การพัฒนาตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาสินค้าของธุรกิจให้มีคุณภาพ มีการรักษามาตรฐานการผลิต เพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มเดิมให้มากที่สุด ธุรกิจศึกษาข้อมูลด้านนโยบายของภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาช่องทางสร้างรายได้ สร้าง โอกาส เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย การลดหย่อนภาษี การเจรจาทำสนธิสัญญาเปิดเขตเสรีทางการค้า ใช้ประโยชน์จากข้อตกลง ทางด้านแรงงานต่างสัญชาติ เป็นต้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมอาหารทะเล--ไทยth_TH
dc.subjectอาหารทะเลแช่แข็ง--การตลาด--ไทยth_TH
dc.titleกลยุทธ์การแข่งขันของอุสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนth_TH
dc.title.alternativeCompetitive strategies of frozen seafood industrial in Samut Songkhram Province under the ASEAN economic communityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed (1) to study the internal and external environment of the frozen seafood industrial in Samut Songkhram province under the ASEAN Economic Community by SWOT Analysis Technique (2) to formulate strategies for being used in the frozen seafood industrial in Samut Songkhram province under the ASEAN Economic Community by TOWS matrix Technique, and (3) to recommend the suitable strategies for the frozen seafood industrial in Samut Songkhram province under the ASEAN Economic Community. This mixed methods research, combined with quantitative research of which the population was 218 business persons who were representatives of the frozen seafood processing the industry as follows: managers, supervisors, and heads of the department, and heads of division of the frozen seafood industrial in Samut Songkhram province. The sample size of 141 sampling was calculated by using Yamane’s, with stratified sampling method. A questionnaire was used as an instrument for collecting. The statistics employed for data analysis were frequency, percent, and mean. As for qualitative research, there were two groups of key informants: five persons of the internal consultants working in the business of frozen seafood industrial in Samut Songkhram province and one person of the external consultant who was an expert strategist, totaling six persons altogether by using in-depth interviews about weak points, strong points, opportunities, obstacles, and recommend suitable strategies. The results of this research revealed that (1) on the strength aspect, the customers felt secure to take all of the goods that were offered for sale and kept a long-term trading with each other. The goods were accepted by customers on the standard and the production process, always focused on the quality of the goods. The selling price agreement with customers was negotiated and that it could be bargained. On the weakness aspect, the ingredients were uncontrollable. Sometimes there were a lot of ingredients to be processed, but sometimes there were not enough, depending on natural sources. The lack of insufficient number of laborers caused the business to employ Myanmar workers and thus had to increase the wages for laborers in processing to keep their labor. On the opportunity aspect, business had the opportunity to grow to another market to augment the income with new products, developed by innovations. Concerning the obstacle aspect, because of epidemic, the businesses were not able to export goods and obtained the ingredients. (2) Using the TOWS matrix technique, the results were as follows. SO Strategy was used to prepare a financial plan, aiming to invest more in the AEC by regular training about laws, regulations, and new knowledge to personnel in the organization. Online marketing was used, together with new campaigns was used to attract and thus increased new customers, doing the new campaigns in the way that the other competitors had not done before. Meetings to plan for the long-term production and services by using low-cost technology was conducted. As for ST Strategy, following the government communication policy regularly, looking for additional ways to increase income from the government policy, analyzing marketing need of the same old customer groups, and trying to satisfy the repeated customers as much as possible were implemented. Concerning WO Strategy, preparing a plan for targets with a clear implementation of the working process, carefully controlling the entire processing systems, creating the application to connect with customers, directly communicating news and events with customers to seek for new groups of customers. On WT Strategy, adapting and looking for a low-cost processing idea from the policy, supported by the government now. (3) On the recommendation of a suitable strategy for the frozen seafood industrial, the researcher recommended the ST Strategy. Market penetration, marketing development, product development, business product quality development would be appropriate. Goods from the business should be of a high-quality, the company kept maintaining the standard of the processing to respond the marketing need of repeated customers as much as possible. Moreover, regular business studies on the government policies to look for more incomes and opportunities, such as lower interest rate, tax cuts, negotiating free-trade area agreement, and using benefits from Memorandum of Understanding (MOU) on using laborers of different nationalities.en_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม45.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons