Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10636
Title: กลยุทธ์การแข่งขันของอุสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Other Titles: Competitive strategies of frozen seafood industrial in Samut Songkhram Province under the ASEAN economic community
Authors: ภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รชพร จันทร์สว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันดี เอี่ยมอิศรา, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
อุตสาหกรรมอาหารทะเล--ไทย
อาหารทะเลแช่แข็ง--การตลาด--ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis (2) กำหนดกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยใช้เทคนิค TOWS Matrix และ (3) เสนอแนะกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ตัวแทนบุคลากรในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งในจังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ ผู้จัดการ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่ายต่างๆ จำนวน 218 คน ขนาดตัวอย่างคำนวณตามสูตรของยามาเน่ ได้ 141 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ผู้เชี่ยวชาญภายในซึ่งปฏิบัติงาน ในธุรกิจของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญภายนอก นักวิชาการด้านกลยุทธ์ 1 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านจุดแข็ง ลูกค้ามีความมั่นคง ซึ่งสามารถรับสินค้าที่เสนอขายได้ทั้งหมด มีการซื้อขายกันอย่างยาวนาน สินค้าได้รับการยอมรับจากลูกค้าด้านมาตรฐานของสินค้าและการผลิต กระบวนการผลิตสินค้ามุ่งเน้นคุณภาพอย่าง สม่ำเสมอ มีข้อตกลงด้านราคาขายกับลูกค้า ซึ่งสามารถต่อรองกันได้ ด้านจุดอ่อน วัตถุดิบไม่สามารถควบคุมได้ บางช่วงมีจำนวนมากสามารถนำมาแปรรูปได้ แต่บางช่วงวัตถุดิบมีน้อยแปรปรวนไปตามธรรมชาติจำนวนแรงงานที่ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องจ้าง แรงงานสัญชาติพม่าในกระบวนการผลิต ต้องเพิ่มค่าแรงเพื่อรักษาแรงงานเอาไว้ ด้านโอกาส ธุรกิจมีโอกาสการเติบโตไปสู่ตลาดอื่นๆ เพื่อเพิ่มรายได้ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่พัฒนาจากนวัตกรรม และด้านอุปสรรค โรคระบาดทำให้ธุรกิจไม่สามารถส่งออกและจัดหาวัตถุดิบได้ (2) เมื่อใช้เทคนิค TOWS Matrix ในการกำหนดกลยุทธ์ จะได้กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์เชิงรุก คือ เตรียมวางแผนทางการเงิน เป้าหมาย คือ การลงทุนเพิ่มใน AEC จัดการอบรมบุคลากรให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ และความรู้ ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทำการตลาดแบบออนไลน์ ทำแคมเปญใหม่ๆ ตอบสนองลูกค้าในส่วนที่คู่แข่งขันยังไม่เคยทำ ประชุมวางแผนการผลิตและบริการในระยะยาวด้วยเทคโนโลยีต้นทุนต่ำ กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ สื่อสารข้อมูลด้านนโยบายของภาครัฐอย่าง สม่ำเสมอ หาช่องทางสร้างรายได้จากนโยบายภาครัฐเพิ่มเติม วิเคราะห์การตลาดกลุ่มลูกค้าเดิมให้มากที่สุด กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ เตรียมวางแผนเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน ควบคุมระบบการดำเนินงานทั้งระบบอย่างรัดกุม สร้างแอปพลิเคชันสำหรับการติดต่อลูกค้า สื่อสารข่าวสารกบลูกค้าโดยตรงเพื่อหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ กลยุทธ์เชิงรับ คือ ปรับเปลี่ยนหาแนวคิดการประหยัดต้นทุนการผลิต จากนโยบายที่ภาครัฐสนับสนุนในปัจจุบัน และ (3) เสนอแนะให้อุตสาหกรรมใช้กลยุทธ์เชิงป้องกัน โดยกลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้ คือ การเจาะตลาด การพัฒนาตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาสินค้าของธุรกิจให้มีคุณภาพ มีการรักษามาตรฐานการผลิต เพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มเดิมให้มากที่สุด ธุรกิจศึกษาข้อมูลด้านนโยบายของภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาช่องทางสร้างรายได้ สร้าง โอกาส เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย การลดหย่อนภาษี การเจรจาทำสนธิสัญญาเปิดเขตเสรีทางการค้า ใช้ประโยชน์จากข้อตกลง ทางด้านแรงงานต่างสัญชาติ เป็นต้น
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10636
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม45.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons