กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10638
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการทำสวนทุเรียนของเกษตรกรในตำบลคู้ยายหมีอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of durian plantation of farmers in Kuyaymee sub-district, Sanam Chai Khet district, Chachoengsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธาทิพย์ คำเกิด, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--การปลูก
การปลูกพืช
การส่งเสริมการเกษตร--แง่เศรษฐกิจ--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประ สงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม ของเกษตรกร 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ) สภาพการปลูกทุเรียนของเกษตรกร 4) ความรู้เกี่ยวกับการปลูกทุเรียนของเกษตรกร 5) ปัญหาข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่ตำบลคู้ยายหมื อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี 2563 จำนวน 134 รายศึกษาจากทั้งหมด 2) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 6 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 55.53 ปี จำนวนต้นในพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉถี่ย 28.56 ต้น ได้รับข้อมูลข่าวสารและจากสื่อมวลชนในระดับมาก ต้นทุนการปลูกทุเรียนเฉลี่ย 25,089.39 บาท/ปี และปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 115.14 กิโลกรัมต่อต้น 2) เกษตรกรมีความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรว่าด้านสังคมเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนในระดับมากที่สุด ส่วนด้านกายภาพและด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนในระดับมาก 3 เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการปรับพื้นที่เพื่อวางผังปลูก ไม่วัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง สภาพพื้นที่ก่อนปลูกทุเรียนเป็นพื้นที่ ว่างเปล่าและปลูกแซมพืชเดิม ปลูกฤดูฝนและให้น้ำแบบสปริงเกอร์ 4) เกษตรกรร้อยละ 50.7 ขาดความรู้ว่าทุเรียนพันธุ์หมอนทองเป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อโรครากเน่า โคนเน่า และร้อยละ 64.2 ขาดความรู้การกำจัดวัชพืชในทุเรียนระยะต้นกล้าสามารถใช้สารเดมีกำจัดวัชพืชได้ 5) เกษตรกรพบปัญหาระดับปานกลาง ในประเด็นไม่มีประสบการณ์แบบอย่างจากเกษตรกรที่เคยปลูกมาแล้วและมีข้อเสนอแนะการปลูกทุเรียนในระดับมาก ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการศึกษาดูงานเกี่ยวกับการปลูก ดูแลรักษาทุเรียน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรให้ข้อมูลเทคนิคในการปลูกทุเรียนเพิ่มมากขึ้น และหน่วยงานที่เกี่ยวของควรจัดให้มีการอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปลูกทุเรียนเพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับปลูกทุเรียนและการวงแผนการผลิตให้ได้คุณภาพ แนวทางการส่งสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกร ได้แก่ การส่งเสริมการปลูกทุเรียนคุณภาพและปลอดภัย การถ่ายทอดความรู้ การรวมกลุ่มของเกษตรกรและส่งเสริมการสร้างอัลักษณ์และภูมิปัญญาในการปลูกทุเรียนของชุมชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10638
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons