กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10648
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุขของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว จังหวัดกระบี่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors related to the quality development of medical and public health laboratories of primary care units according to Starred Sub-district Health promoting hospital standards in Krabi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีระวุธ ธรรมกุล วัฒนา แก้วแย้ม, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--กระบี่ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์--มาตรฐาน การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านองค์การและการบริหารจัดการองค์การของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ จังหวัดกระบี่ (2) ประเมินผลการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ จังหวัดกระบี่ และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การ การบริหารจัดการองค์การ และผลการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิในจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ หน่วยบริการระดับปฐมภูมิในจังหวัดกระบี่ ทั้งหมด 75 แห่ง โดยให้บุคลากรที่รับผิดชอบงานเป็นผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 1 คน เครื่องมือในการศึกษาเป็นแบบประเมิน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบรากเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ ด้านขนาดโครงสร้าง ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาดใหญ่ บุคลากรตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และบุคลากรตำแหน่งข้าราชการ การบริหารจัดการองค์การทั้ง 7 ด้าน มีระดับความเป็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และด้านโครงสร้างองค์กรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (2) ผลการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว อยู่ในระดับดีมาก และ (3) ผลการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านขนาดโครงสร้างของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เเละด้านทักษะความสามารถบุคลากร ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันได้ร้อยละ 46.30 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10648 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
162065.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License