Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10649
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิโรจน์ รถคง, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2023-12-04T03:48:11Z-
dc.date.available2023-12-04T03:48:11Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10649-
dc.description.abstractการวิจัยเชิงทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลของอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียนต่อค่ากรดไขมันระเหยง่ายในระบบบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบี และ (2) ผลของการเปลี่ยนแปลงกรดไขมันระเหยง่ายที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำหมุนเวียนต่อประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยการใช้ถังปฏิกรณ์ และน้ำเสียที่เข้าถังที่ใช้อยู่จริงในโรงงานผลิตเบเกอรี่แห่งหนึ่ง ควบคุมอัตราการไหลของน้ำเสียเข้าถังปฏิกรณ์ 4.0 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างที่ 7.2 จากนั้นจึงทำการทดลองโดยผันแปรอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียน 4.5, 5.0 และ 5.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ แล้วจึงเก็บตัวอย่างจากจุดต่างๆ ของถังปฏิกรณ์ นำมาวิเคราะห์ค่ากรดไขมันระเหยง่าย และประสิทธิภาพการบำบัดค่าซีโอดี และบีโอดี พีเอช ของแข็งแขวนลอย และสภาพด่าง ผลการวิจัยพบว่า (1) การเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียนมีผลกระทบทำให้ค่ากรดไขมันระเหยง่ายมีค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยที่อัตราการไหลของน้ำหมุนเวียน 5.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง มีค่ากรดไขมันระเหยง่ายในถังปฏิกรณ์เพิ่มขึ้นมากกว่าอีกสองการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และ (2) เมื่อปริมาณกรดไขมันระเหยง่ายมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ระบบมีประสิทธิภาพการลดค่าซีโอดี และบีโอดีของระบบบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบีต่ำลง โดยประสิทธิภาพการลดค่าซีโอดีได้ร้อยละ 89.17, 87.27 และ 86.60 ตามลำดับ ประสิทธิภาพการลดค่าบีโอดี ร้อยละ 85.34, 81.65 และ 81.30 ตามลำดับ ประสิทธิภาพการลดค่าของแข็งแขวนลอย ร้อยละ 28.79, 25.04 และ 9.63 ค่าความเป็นกรด-ด่างสูงขึ้นเป็น 7.20, 7.25, 7.32 ตามลำดับ เมื่อควบคุมอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียน 4.5, 5.0 และ 5.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงตามลำดับ และค่าสภาพความเป็นด่างมีค่าสูงที่สุดที่อัตราการไหลของน้ำหมุนเวียน 5.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบีที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียน 4.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และเป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบีให้มีประสิทธิภาพการบำบัดสูงสุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectน้ำเสีย--การบำบัดth_TH
dc.subjectโรงงาน--การกำจัดของเสียth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมth_TH
dc.titleผลของน้ำหมุนเวียนต่อปริมาณกรดไขมันระเหยง่ายในถังปฏิกิริยาแบบไร้อากาศในระบบบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบี : กรณีศึกษาโรงงานผลิตเบเกอรี่th_TH
dc.title.alternativeEffect of circulating water on volatile fatty acids in the anaerobic reactor of an EGSB wastewater treatment system : a case study at a bakery planten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this experimental research were to study (1) the effect of circulating water flow rates on volatile fatty acids and (2) the effect of volatile fatty acids changes resulting from circulating water changes on the efficiency of wastewater treatment, both in the EGSB wastewater treatment system at a bakery plant. The experiment was undertaken with the EGSB reactor and actual influent at bakery plant by controlling the influent flow rate at 4.0 m3/hr and the pH value in mixed water at 7.2; then the circulating water flow rates were varied at 4.5, 5.0 and 5.5 m3/hr and after that water samples were collected from various sampling ports of the reactor to be analyzed for volatile fatty acids, COD, BOD, pH, suspended solids and alkalinity. The results showed that: (1) the increases in the circulating water flow rates led to increasing amounts of volatile fatty acids; at the water flow rate of 5.5 m3/hr, the amounts of volatile fatty acids in the reactor were significantly higher than with the other two flow rates (p = 0.05); and (2) higher levels of volatile fatty acids led to lower removal efficiency of COD and BOD of the EGSB; the drops in COD removal were 89.17%, 87.27% and 86.60% respectively, in BOD removal were 85.34%, 81.65% and 81.30% respectively, in suspended solids removal were of 85.34%, 81.65% and 81.30% respectively, while the pH rose to 7.20, 7.25, 7.32 respectively, as the water flow rates were controlled at 4.5, 5.0 and 5.5 m3/hr; and the pH was highest at the circulating water flow rate of 5.5 m3/hr. Thus, the circulating water flow rate of 4.5 m3/hr was significantly more efficient and most suitable for treating wastewater using the EGSB reactor at the bakery (p = 0.05).en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162057.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons