Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10649
Title: | ผลของน้ำหมุนเวียนต่อปริมาณกรดไขมันระเหยง่ายในถังปฏิกิริยาแบบไร้อากาศในระบบบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบี : กรณีศึกษาโรงงานผลิตเบเกอรี่ |
Other Titles: | Effect of circulating water on volatile fatty acids in the anaerobic reactor of an EGSB wastewater treatment system : a case study at a bakery plant |
Authors: | พรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์ วิโรจน์ รถคง, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี น้ำเสีย--การบำบัด โรงงาน--การกำจัดของเสีย การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลของอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียนต่อค่ากรดไขมันระเหยง่ายในระบบบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบี และ (2) ผลของการเปลี่ยนแปลงกรดไขมันระเหยง่ายที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำหมุนเวียนต่อประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยการใช้ถังปฏิกรณ์ และน้ำเสียที่เข้าถังที่ใช้อยู่จริงในโรงงานผลิตเบเกอรี่แห่งหนึ่ง ควบคุมอัตราการไหลของน้ำเสียเข้าถังปฏิกรณ์ 4.0 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างที่ 7.2 จากนั้นจึงทำการทดลองโดยผันแปรอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียน 4.5, 5.0 และ 5.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ แล้วจึงเก็บตัวอย่างจากจุดต่างๆ ของถังปฏิกรณ์ นำมาวิเคราะห์ค่ากรดไขมันระเหยง่าย และประสิทธิภาพการบำบัดค่าซีโอดี และบีโอดี พีเอช ของแข็งแขวนลอย และสภาพด่าง ผลการวิจัยพบว่า (1) การเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียนมีผลกระทบทำให้ค่ากรดไขมันระเหยง่ายมีค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยที่อัตราการไหลของน้ำหมุนเวียน 5.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง มีค่ากรดไขมันระเหยง่ายในถังปฏิกรณ์เพิ่มขึ้นมากกว่าอีกสองการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และ (2) เมื่อปริมาณกรดไขมันระเหยง่ายมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ระบบมีประสิทธิภาพการลดค่าซีโอดี และบีโอดีของระบบบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบีต่ำลง โดยประสิทธิภาพการลดค่าซีโอดีได้ร้อยละ 89.17, 87.27 และ 86.60 ตามลำดับ ประสิทธิภาพการลดค่าบีโอดี ร้อยละ 85.34, 81.65 และ 81.30 ตามลำดับ ประสิทธิภาพการลดค่าของแข็งแขวนลอย ร้อยละ 28.79, 25.04 และ 9.63 ค่าความเป็นกรด-ด่างสูงขึ้นเป็น 7.20, 7.25, 7.32 ตามลำดับ เมื่อควบคุมอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียน 4.5, 5.0 และ 5.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงตามลำดับ และค่าสภาพความเป็นด่างมีค่าสูงที่สุดที่อัตราการไหลของน้ำหมุนเวียน 5.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบีที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียน 4.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และเป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียชนิดอีจีเอสบีให้มีประสิทธิภาพการบำบัดสูงสุด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10649 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
162057.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License