Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10658
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | เพรียวพรรณ สุขประเสริฐ, 2531- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-04T06:31:17Z | - |
dc.date.available | 2023-12-04T06:31:17Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10658 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานโรงงานผลิตบ้านสําเร็จรูป (2) ศึกษาถึงประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานโรงงานผลิตบ้านสำเร็จรูป ก่อนและหลังทำกิจกรรมแนวทางการลดและป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน และ (4) หาแนวทางการลดอุบัติเหตุของโรงงานผลิตบ้านสำเร็จรูป และนําไปปรับใช้ในระบบการทํางานด้านความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ ประชากรที่ศึกษาคือ พนักงานปฏิบัติงานในสายการผลิตโรงงานผลิตบ้านสำเร็จรูป จังหวัดสระบุรี จํานวนทั้งสิ้น 180 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยมีคุณสมบัติคล้ายกันทั้งด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพและอายุการทํางาน จํานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจํานวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจํานวน 30 คน ทําการวิจัยเป็นระยะเวลา 2 เดือน เพื่อให้มีระยะเวลาสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในการปรับพฤติกรรมด้านความปลอดภัย โดยใช้เครื่องมือที่ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมด้านความปลอดภัย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินผลหลังทํากิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างทุกคนเป็นเพศชาย มีอายุ 31-35 ปี ร้อยละ 33.3 ระดับการศึกษาอนุปริญญา ร้อยละ 95.5 สถานภาพสมรส ร้อยละ 56.7 มีอายุในการทํางาน 4 ปี ร้อยละ 38.3 (2) พบประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางาน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพยังไม่ค่อยเหมาะสมต่อการทํางาน ร้อยละ 53.8 มีความเหมาะสมของคารางเวลาในการทํางาน ร้อยละ 84.6 มีความเหมาะสมของระยะเวลาพักระหว่างปฏิบัติงาน ร้อยละ 92.3 กำหนดช่วงเวลาในการทำงานล่วงเวลาเหมาะสม ร้อยละ 53.8 ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในงาน ร้อยละ 69.2 มีความประทับใจในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 100 มีความประทับใจกับงานที่ตัวเองทํา คิดเป็นร้อยละ 100 (3) พฤติกรรมความปลอดภัยก่อนทําการวิจัยของกลุ่มตัวอย่างมีผลต่างเท่ากับ 0.17 ผลต่างส่วนเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.34 จากผลทดสอบที่พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (1= 0.115) พฤติกรรมความปลอดภัยหลังทำการวิจัยของกลุ่มตัวอย่างมีผลต่างเท่ากับ 7.92 ผลต่างส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 20.07 จากผลทดสอบที่พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับเชื่อมั่นร้อยละ 95 (t = 4.842) และ (4) สามารถประยุกต์ใช้แนวทางการลดและป้องกันอุบัติเหตุมากําหนดหัวข้อด้านความปลอดภัยในตารางประชุมเช้าของโรงงานโดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | อุบัติเหตุ--การป้องกัน | th_TH |
dc.subject | ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม | th_TH |
dc.title | ผลของแนวทางการลดและป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของโรงงานผลิตบ้านสำเร็จรูป จังหวัดสระบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | The effect of guidelines for reducing and preventing work accidents in a prefabricated houses factory in Saraburi Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to (1) study the personal and working environmental factors of employees at a prefabricated houses factory, (2) investigate problems and obstacles of safety management in the workplace, (3) compare workers’ safety behaviors before and after the implementation of guidelines for reducing and preventing work accidents, and (4) propose the accident reduction guidelines for a prefabricated houses factory to be used by occupational safety officers. The study’s population consisted of 180 manufacturing employees in the company, which produced prefabricated houses in Saraburi province. The purposive sampling was applied in selecting 60 participants – 30 in the experimental group and 30 in the control group. Data on safety behaviors were collected for 2 months in both groups using behavioral observations, constructed interview, and post-activities test. Descriptive and t-test statistical analyses were applied. Results indicate the following: (1) Of all respondents, the majority were male, one-third were 31-35 years old,95.5 % finished an associate degree, 56.7% were married, and 38.3% had 4 years of work experience. (2) Regarding the problems and obstacles of safety management, 53.8% had unsuitable physical working environments, whereas 84.6% agreed with the suitable work schedule, 92.3% had a suitable break period, 53.8% had suitable overtime work periods, 69.2% had no weariness, and all were impressed with the overall as well as their own outputs. (3) Concerning the safety behavior scores of the experimental and control groups, before using the guidelines the score difference was only 0.17 (SD, 1.84), which was not statistically significant at the 95% confidence level (t = 0.115). But after using the guidelines, the score difference was 7.92 (SD, 20.07), which was significant at the 95% confidence level (t = 4.842). (4) The accident reduction and prevention guidelines were used to define a safety talking topic in the factory’s morning meetings by the professional safety officer | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สราวุธ สุธรรมาสา | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License