Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10658
Title: | ผลของแนวทางการลดและป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของโรงงานผลิตบ้านสำเร็จรูป จังหวัดสระบุรี |
Other Titles: | The effect of guidelines for reducing and preventing work accidents in a prefabricated houses factory in Saraburi Province |
Authors: | พรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์ เพรียวพรรณ สุขประเสริฐ, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สราวุธ สุธรรมาสา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--วิทยานิพนธ์ อุบัติเหตุ--การป้องกัน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานโรงงานผลิตบ้านสําเร็จรูป (2) ศึกษาถึงประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานโรงงานผลิตบ้านสำเร็จรูป ก่อนและหลังทำกิจกรรมแนวทางการลดและป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน และ (4) หาแนวทางการลดอุบัติเหตุของโรงงานผลิตบ้านสำเร็จรูป และนําไปปรับใช้ในระบบการทํางานด้านความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ ประชากรที่ศึกษาคือ พนักงานปฏิบัติงานในสายการผลิตโรงงานผลิตบ้านสำเร็จรูป จังหวัดสระบุรี จํานวนทั้งสิ้น 180 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยมีคุณสมบัติคล้ายกันทั้งด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพและอายุการทํางาน จํานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจํานวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจํานวน 30 คน ทําการวิจัยเป็นระยะเวลา 2 เดือน เพื่อให้มีระยะเวลาสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในการปรับพฤติกรรมด้านความปลอดภัย โดยใช้เครื่องมือที่ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมด้านความปลอดภัย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินผลหลังทํากิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างทุกคนเป็นเพศชาย มีอายุ 31-35 ปี ร้อยละ 33.3 ระดับการศึกษาอนุปริญญา ร้อยละ 95.5 สถานภาพสมรส ร้อยละ 56.7 มีอายุในการทํางาน 4 ปี ร้อยละ 38.3 (2) พบประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางาน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพยังไม่ค่อยเหมาะสมต่อการทํางาน ร้อยละ 53.8 มีความเหมาะสมของคารางเวลาในการทํางาน ร้อยละ 84.6 มีความเหมาะสมของระยะเวลาพักระหว่างปฏิบัติงาน ร้อยละ 92.3 กำหนดช่วงเวลาในการทำงานล่วงเวลาเหมาะสม ร้อยละ 53.8 ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในงาน ร้อยละ 69.2 มีความประทับใจในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 100 มีความประทับใจกับงานที่ตัวเองทํา คิดเป็นร้อยละ 100 (3) พฤติกรรมความปลอดภัยก่อนทําการวิจัยของกลุ่มตัวอย่างมีผลต่างเท่ากับ 0.17 ผลต่างส่วนเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.34 จากผลทดสอบที่พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (1= 0.115) พฤติกรรมความปลอดภัยหลังทำการวิจัยของกลุ่มตัวอย่างมีผลต่างเท่ากับ 7.92 ผลต่างส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 20.07 จากผลทดสอบที่พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับเชื่อมั่นร้อยละ 95 (t = 4.842) และ (4) สามารถประยุกต์ใช้แนวทางการลดและป้องกันอุบัติเหตุมากําหนดหัวข้อด้านความปลอดภัยในตารางประชุมเช้าของโรงงานโดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10658 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License