Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10659
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในกำหนดเวลาในจังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Factors involving the decision towards personal income tax filing within time limit in Phitsanulok Province
Authors: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วสุ สุวรรณวิหค, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิฐชา เกิดเกตุกาญจน์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้--ไทย--พิษณุโลก
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของผู้มีเงินได้จากเงินเดือนและค่าจ้างที่มีหน้าที่ยื่นแบบภาษีเงินได้ในจังหวัดพิษณุโลก 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลา 3) ปัจจัยด้านหน่วยงานสรรพากรพื้นที่ที่มีผลต่อการยืนแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลา 4) ทัศนคติของผู้ยื่นแบบที่มีผลต่อการยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลา และ 5) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลา การศึกษาใช้ตัวอย่างจำนวน 400 คน จากผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ที่มีหลักแหล่งเงินได้ประเภทเงินเดือนและค่าจ้างในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากตัวอย่างและการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่สรรพากรในเขตพื้นที่สรรพากรพิษณุโลกจำนวน 20 คน ข้อมูลที่ได้มีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และแบบจําลองการถดถอยโลจิสติก ผลการศีกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 40-54 ปี เป็นพนักงานเอกชน/รับจ้าง จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่า มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน อยู่ในเขตอำเภอเมือง มีสมาชิกในครัวเรือน 3-5 คน และมีบุคคลที่ต้องอุปการะ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลาของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดและผู้ที่อยู่ในอำเภอเมืองพิษณุโลกที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ อาชีพ การมีผู้ที่ต้องอุปการะ และภูมิลำเนา โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีโอกาสยื่นแบบภาษีภายในกําหนดเวลามากกว่า ได้แก่ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า มีอาชีพรับราชการ ไม่มีผู้ที่ต้องอุปการะ และผู้ที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก สําหรับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเขตอำเภอรอบนอกนั้น ไม่พบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกำหนดเวลาอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 3) ปัจจัยด้านหน่วยงานสรรพากรที่มีผลต่อการยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลา ได้แก่ วิธีการยื่นแบบ การบริการของเจ้าหน้าที่ สถานที่จอดรถเพียงพอ ระยะเวลาดำเนินการที่เหมาะสม และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ตามลำดับ 4) ค่าเฉลี่ยของทัศนคติของผู้ยื่นแบบภายในกําหนดเวลาที่มีมากกกว่าผู้ไม่ยื่นแบบภายในกําหนดเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ความคาดหวังในการใช้จ่ายเงินภาษีของรัฐ ความซับซ้อนในการยื่นแบบ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี และความคิดเห็นด้านบทลงโทษ และ 5) ปัญหาอุปสรรคในการยื่นแบบภายในเวลา ได้แก่ การมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ การมีผู้ไม่อยู่ในระบบภาษีจำนวนมาก และปัญหาด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะได้แก่ การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระเบียบข้อกฎหมายต่าง ๆ การลดขั้นตอนการยื่นแบบฯ และการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิผล
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10659
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons