กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10660
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลหลวงเหนือ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of human resources management of Luang Nuea Municipality at Ngao District in Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นราธิป ศรีราม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรุณี เครือระยา, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เทศบาลตำบลหลวงเหนือ--การบริหารงานบุคคล
การบริหารงานบุคคล
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลหลวงเหนืออำเภองาว จังหวัดลำปาง (2) ศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลหลวงเหนือ อำเภองาว จังหวัดลำปาง และ (3) เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลหลวงเหนือ อำเภองาว จังหวัดลำปาง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประชากร คือ ผู้บริหาร และพนักงานสังกัดเทศบาลตำบลหลวงเหนือ จำนวนทั้งหมด 47 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ แบบสำรวจเอกสารและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการจำแนกและจัดระบบข้อมูลการวิเคราะห์สาเหตุและผลการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์สรุปอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยภาพรวมของเทศบาลตำบลหลวงเหนือเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่กำหนดโดยรัฐบาลและราชการส่วนกลาง ซึ่งยังไม่สอดคล้องกับหลักความเป็นอิสระในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของท้องถิ่น (2) ปัญหาสำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาล คือ ปัญหาการขาดความอิสระในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ยังไม่สอดคล้องกับระบบคุณธรรม ปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังและโอกาสทางก้าวหน้าที่จำกัด สาเหตุสำคัญของปัญหา คือ การกระจายอำนาจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีอยู่อย่างจำกัด กลไกทั้งภายในและภายนอกเกี่ยวกับการบริหารและควบคุมตรวจสอบการดำเนินงานตามระบบคุณธรรมขาดประสิทธิภาพ (3) แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ คือ ผู้บริหารเทศบาลต้องตระหนักถึงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามระบบคุณธรรม และให้ความสำคัญการสร้างพลเมืองที่ตื่นตัวที่มีความรับผิดชอบ มีความเป็นเจ้าของ และเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารและควบคุมตรวจสอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลข้อเสนอในเชิงนโยบายรัฐต้องมีการเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีอิสระในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้น โดยสอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจ หลักการบริหารการปกครองท้องถิ่น และหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของท้องถิ่น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10660
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161940.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons