กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10663
ชื่อเรื่อง: | การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ของอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Accessibility to public health service among migrant workers in Pak Phanang District, Nakhon Si Thammarat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารยา ประเสริฐชัย จิรวรรณ รัตจักร์, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์ แรงงานต่างด้าว--ไทย--นครศรีธรรมราช--บริการทางการแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (2) การเข้าถึงบริการสุขภาพ และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติของอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ศึกษาคือ แรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอปากพนัง จํานวน 220 คน กลุ่มตัวอย่าง 140 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ และ ฟิชเชอร์แอสเซท ผลการวิจัย พบว่า (1) แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 27.5 ปี สถานภาพคู่ สัญชาติลาว การศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยระดับมาก ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทย 1-5 ปี สถานภาพการจ้างงาน ส่วนใหญ่มีใบอนุญาตทํางาน ทํางาน 5-6 วัน/สัปดาห์ วันละ 5-8 ซม. ภาวะความเสี่ยงในการทํางานไม่เคยป่วยเป็นโรคจากการทํางาน การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุมักเกิดจากถูกของมีคมบาด หกล้ม การสนับสนุนจากเครือข่ายทางสังคม ไม่มีแกนนําหรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เมื่อเจ็บป่วยนายจ้างพาไปและสื่อสารด้วยตนเอง แรงงานมีสิทธิบัตรประกันสุขภาพและทราบถึงสิทธิประโยชน์ เมื่อเจ็บป่วยจะรักษาที่การเข้าถึงบริการสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สัญชาติ การศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทย มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ช่วงระยะเวลาทํางาน การทํางานต่อสัปดาห์ แกน หรือ อสม. การดูแลหรือตรวจคัดกรองสุขภาพ สิทธิประโยชน์ในบัตรประกันสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10663 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License