Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10664
Title: การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายและสิทธิในการเรียกค่าเสียหาย
Other Titles: Tacit termination of contracts and rights to claim for damages
Authors: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลชัย พิพิธวรกุล, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--เช่าซื้อ
ค่าเสียหาย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิคกี่ยวกับทฤษฎีและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลิกสัญญา 2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการเลิกสัญญาเช่าซื้อและสิทธิในการเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ 3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายและสิทธิในการเรียกค่าเสียหาย โดยเฉพาะกรณีการคุ้มครองผู้เช่าซื้อที่เป็นผู้บริโภค และ 4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนานาประเทศ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าจากตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตำรา หนังสือ บทความทางวิชาการ แนวคำพิพากษาศาลฎีกา รวมทั้งการศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) การเลิกสัญญาโดยปริยาย คือ การเลิกสัญญาที่ไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดแต่คู่สัญญาตกลงยินยอมให้เลิกสัญญาโดยไม่โต้แย้ง 2) จากหลักกฎหมายของต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ พบว่ามีความคล้ายคลึงกัน โดยความเสียหายนั้นลูกหนี้จะต้องคาดเห็นได้ ในส่วนของกฎหมายไทยมีการบัญญัติเรื่องความเสียหายไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และมีการกำหนดวิธีคิดค่าเสียหายตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา 3) ปัญหาคือการบัญญัติกฎหมายตามเดิมจะเป็นช่องทางให้ผู้ให้เช่าซื้อเอาเปรียบผู้เช่าซื้อที่เป็นผู้บริโภคโดยการยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และเมื่อเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญายังคงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เหมือนดังการเลิกสัญญาที่ถูกต้องตามแบบ 4) ข้อเสนอแนะคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาควรมีการปรับปรุงให้มีความหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีหลักการว่า เมื่อมีการเลิกสัญญาที่ขัดต่อวิธีการเลิกสัญญาในสองมาตราก่อน แต่คู่สัญญายินยอมเลิกสัญญาโดยไม่ได้แย้งให้ถือว่าเป็นการเลิกสัญญาโดยปริยาย และให้ถือว่าสิทธิในการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกสัญญาตกเป็นพับแก่คู่กรณี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10664
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161862.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons