กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10666
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการแปรรูปมังคุดของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension support for mangosteen processing of farmers in Khao Phra Sub-district, Rattaphum District, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รวิษฎา อ่อนอุ่น, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
มังคุด--การแปรรูป
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การแปรรูปและความคิดเห็นด้านปัจจัยที่มีผลต่อการแปรรูปมังคุด 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมังคุดแปรรูป 4) ความต้องการการส่งเสริมการแปรรูปมังคุด 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการแปรูปมังคุด ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในพื้นที่ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปี พ.ศ. 2544 จํานวนรวมทั้งหมด 354 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการค้านวณของทาโร ยามาเน ให้มีความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 130 คน ตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 53.1 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.92 ปี มีประสบการณ์ในการทําสวนมังคุดเฉลี่ย 14.19 ปี พื้นที่ปลูกมังกุดเฉลี่ย 1.57 ไร่ ลักษณะการปลูกมังคุด ร้อยละ 91.5 เป็นส่วนผสมแรงงานในภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.49 คน เกษตรกรร้อยละ 69.2 มีแหล่งเงินทุนเป็นของตนเอง 2) การแปรรูปผลิตภัณฑ์มังคุด พบว่า มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 3.8 ทํามังคุดกวนและร้อยละ 1.5 ทําถ่านเปลือกมังคุด สําหรับความคิดเห็นด้านปัจจัยที่มีผลต่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์เจลสครับอาบนํ้าผสมสารสกัดเปลือกมังคุด เป็นอันดับแรก โดยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการแปรรูป คือ วิธีการแปรรูป ด้านอุปกรณ์ ด้านเงินลงทุน ด้านวัตถุดิบและด้านแรงงาน ตามลำดับ 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับน้อย โดยผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรมีความรู้ในการแปรรูปมากที่สุด คือ มังคุดกวน รองลงมา คือ ถ่านเปลือกมังคุด 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมอยู่ในระดับมาก โดยด้านผู้ส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้มาจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ด้านช่องทางการส่งเสริมและศึกษาความรู้ต้องการผ่านทาง ยูทูป การฝึกอบรม และการถ่ายทอดผ่านทางผู้นำเกษตรกร และด้านผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการส่งเสริม คือ น้ำมังคุด มังคุดกวนและถ่านเปลือกมังคุด 5) เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องของการขาดความรู้ในการแปรรูป ด้านการขาดความต่อเนื่องในการเข้ามาให้การส่งเสริมและสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขาดการรวมกลุ่มของเกษตรกร ตามลำดับ และมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาอบรมความรู้ในการแปรรูปผลผลิตอย่างต่อเนื่อง และควรมีจุดในการรับชื่อและกระจายผลผลิตของเกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10666
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons