กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10681
ชื่อเรื่อง: แนวปฏิบัติในการเปรียบเทียบและประสานรายการยา แผนกผู้ป่วยใน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลบึงสามพัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines of inpatient department medication reconciliation for medical personnel at Buengsamphan Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
เรศิตา จอมประดิษฐ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลบึงสามพัน--ระบบการจ่ายยา
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การเปรียบเทียบและประสานรายการยา เป็นวิธีการปฏิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบการจัดการด้านยา โดยเฉพาะในช่วงรอยต่อของการรักษา ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่สมควรได้รับอย่างเหมาะสมและครบถ้วน ไม่เกิดการใช้ยาซ้ำซ้อนหรือการได้รับยาที่ไม่จําเป็น การจัดทําแนวปฏิบัติในการเปรียบเทียบและประสานรายการยา แผนกผู้ป่วยใน สําหรับบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ จะช่วยให้กระบวนการดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐาน ช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยาที่อาจจะเกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยา ขั้นตอนการจัดทำแนวปฏิบัติฯ ได้แก่ (1) การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) จัดทำร่างแนวปฏิบัติในการเปรียบเทียบและประสานรายการยา แผนกผู้ป่วยใน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลบึงสามพัน (3) การตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาของร่างแนวปฏิบัติ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.98 และปรับแก้ไขตามคำแนะนำ (4) นำแนวปฏิบัติฯ ไปทดลองใช้กับบุคลากรทางการแพทย์ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบึงสามพัน จำนวน 33 คน เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ และ (5) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ ผลการดำเนินงาน ได้แนวปฏิบัติในการเปรียบเทียบและประสานรายการยา แผนกผู้ป่วยใน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลบึงสามพัน เนื้อหาประกอบด้วย (1) บทนำ (2) ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานระบบยา (3) ความรู้เกี่ยวกับการเปรียบเทียบและประสานรายการยา (4) ความรู้เกี่ยวกับรอยต่อการดูแลรักษา (5) ความรู้เกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบและประสานรายการยา (6) บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ในกระบวนการเปรียบเทียบและประสานรายการยา และ (7) แนวปฏิบัติของบุคลากรทางการแพทย์ในกระบวนการเปรียบเทียบและประสานรายการยา สําหรับผลการทดลองใช้ พบว่า บุคลากรทางการแพทย์มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ โดยรวมในระดับมากที่สุด สำหรับความพึงพอใจรายด้าน พบคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ สามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้ รองลงมา คือ ความชัดเจนของข้อมูลเนื้อหา และความเหมาะสมของภาษาที่ใช้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10681
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons