กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10688
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting to success of community enterprises operations in Sikao district, Trang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กลอยใจ เย็นรักษา, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--ไทย--ตรัง
วิสาหกิจชุมชน--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของสมาชิกและการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน2) ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 4) การได้รับและความต้องการการส่งเสริมการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน และ 5) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ มีอายุเฉลี่ย 50.88 ปี สมาชิกครัวเรือน เฉลี่ย 4.40 คน เข้าร่วมเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 4.19 ปี รายได้จากวิสาหกิจชุมชน เฉลี่ย 76,706.63 บาทต่อปี การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในด้านการจัดการองค์กร การจัดการการผลิต การจัดการการตลาด การจัดการการเงิน ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของสมาชิก และการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความสำเร็จในการดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยวิสาหกิจชุมชนพึ้งตนเองได้เป็นความสำเร็จในการดำเนินงานมากที่สุด ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน (Z) ได้แก่ ด้านการจัดการการตลาด (X) ด้านภาวะผู้นำ (X) และด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ (X,) โดยสมการสามารถทำนายความสำเร็จได้ร้อยละ 73.9 ได้สมการถดถอยพหุคูณ Z= 0.220 (X) +0.332(X)) +0.359 (X,) 3) ปัญหาในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ซึ่งปัญหาด้านการจัดการการตลาดเป็นปัญหาในการดำเนินงานสูงสุด มีข้อเสนอแนะในประเด็นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานเพื่อการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ และหาช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ หรือตลาดที่มีความมั่นคง 4) สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ได้รับความรู้และความต้องการความรู้ในการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการได้รับความรู้และความต้องการความรู้พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทุกประเด็น และ5) แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน คือ การสนับสนุนของ หน่วยงานภาครัฐ ในการให้ความรู้เรื่องการตลาด การทำแผนธุรกิจ และพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำของวิสาหกิจชุมชน ผ่านนักส่งเสริมการเกษตรโดยวิธีการบรรยาย ร่วมกับการสาธิตและฝึกปฏิบัติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10688
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons