Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1068
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์th_TH
dc.contributor.authorรัชนี คงเมือง, 2521--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-26T07:38:21Z-
dc.date.available2022-08-26T07:38:21Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1068-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553th_TH
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา (1) สมบัติของกำลังรับแรงอัดและร้อยละการดูดกลืนน้ำของบล็อกประสาน ผลิตจากกากตะกอนจากกระบวนการทําน้ำเกลือให้บริสุทธิ์ อายุการบ่ม 28 วัน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณตะกอนในมวลรวมกับกําลังรับแรงอัด และร้อยละการดูดกลืนน้าของบล็อกประสานผสมกากตะกอน (3) ชนิดและสมบัติที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์จากบล็อกประสานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์และ (4) เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตบล็อกประสานโดยใช้กากตะกอนเป็นส่วนผสมกับบล็อกทั่วไปตามท้องตลาดการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยทําการศึกษาการนํากากตะกอน เป็นของเสียจากอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการทําน้ำเกลือให้บริสุทธิ์ของโรงงานเหมืองแร่ เกลือหิน ใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในสูตรที่มีอัตราการแทน ร้อยละ 0 5 10 15 20 40 และ 60 ตามลำดับ และนํามาผสมกับดินและน้ำประปาในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยน้ำหนัก อัดขึ้นรูปบล็อกประสานขนาด 12.5 X 25 X 10 เซนติเมตร จํานวนสูตรละ 10 ก้อน ทําการบ่มที่ 28 วัน นําตัวอย่าง 5 ก้อนต่อสูตรมาทดสอบหาค่ากําลังรับแรงอัดและร้อยละการดูดกลืนน้ำตาม มอก. 109 และนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐาน มผช.602/2547 มอก.57-2533 และนอก 58-2533 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน จากผลการวิจัยพบว่า (1) บล็อกประสานในสูตรที่มีอัตราการแทนที่ร้อยละ 0 5 10 15 20 และ 40 นั้น ให้ค่ากำลังรับแรงอัดเฉลี่ยสูงกว่า 2.5 เมกะพาสคัล และมีค่าร้อยละการดูดกลืนน้ำเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 8.40 -12.63 (2) ปริมาณตะกอนในมวลรามกับกําลังรับแรงอัดมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งหากการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยกากตะกอนเพิ่มขึ้นจะมีผลทําให้ค่าการรับแรงอัดลดลง และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณตะกอนในมวลรวมกับร้อยละการดูดกลืนน้ำนั้นมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) บล็อกประสานในสูตรที่มีอัตราส่วนการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยกากตะกอนร้อยละ 0 5 10 15 20 และ 40 นั้น เป็นไปตามมาตรฐาน มผช. 602/2547 คอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก และมอก 58-2533 คอนกรีตบล็อกไม่รับนํ้าหนัก ซึ่งเหมาะสําหรับก่อผนังกั้นห้องภายในอาคารที่ไม่ต้องรองรับน้ำหนักโครงสร้าง หรือก่อกำแพง ส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ต้องรองรับน้ำหนักบรรทุกใด ๆ นอกจากน้ำหนักตัวเอง ส่วนในอัตราการแทนที่ร้อยละ 60 นั้นไม่ผ่านมาตรฐานจึงไม่เหมาะในการนำมาใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง และ (4) สูตรที่มีอัตราส่วนการแทนที่ร้อยละ 40 เป็นอัตราส่วนสูงสุดที่สามารถนําไปใช้ในงานก่อสร้างได้ และสามารถลดต้นทุนการผลิตเมื่อเปรียบเทียบกับบล็อกประสานได้ถึงร้อยละ 17.48th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกากตะกอนน้ำเสีย--การใช้ประโยชน์th_TH
dc.subjectโรงงานอุตสาหกรรม--การกำจัดของเสียth_TH
dc.subjectเหมืองแร่--ไทย--นครราชสีมาth_TH
dc.titleการผลิตบล็อกประสานโดยใช้กากตะกอนจากกระบวนการทำน้ำเกลือให้บริสุทธิ์ของโรงงานเหมืองแร่เกลือหิน จังหวัดนครราชสีมาth_TH
dc.title.alternativeA production of interlocking block made of sludge from brine purification of a rock salt factory in Nakhon Ratchasima provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were : (1) to find compressive strength and water absorption percentage of interlocking block made of sludge from brine purification and kept in 28 days; (2) to find the relation between mass sludge quantity with compressive strength and water absorption percentage of the interlocking block; (3) to identify type and appropriate property in use of the interlocking block according to the block standard ; and (4) to compare production cost between the interlocking block and general interlocking blocks in the market. This experimental research was conducted by using sludge which was industrial waste affected to environment from brine purification of a rock salt factory replacing type I Portland cement in appropriate weight proportion of 0, 5, 10, 15, 20, 40, and 60% , rcpcctivcly, by mixing them with soil and tap water to produce interlocking blocks in size of 12.5 X 25 X 10 cm., 10 pieces each. The blocks were kept for 28 days and five of them were sampled out of each proportion to test of compressive strength and water absorption percentage based on TIS (Thai Industrial Standard) 109. The sample blocks were then compared with TPCS.602/2547, TIS.57-2533, and TIS.58-2533 Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation. The results of this research were that: (1) the blocks in the proportion of 0, 5, 10, 15, 20, and 40 % had average compressive strength more than 2.5 Mpa. Moreover, water absorption percentage were between 8.40 -12.63; (2) mass sludge quantity were related with compressive strength with statistical significant level at 0.05. Increasing replacmentof Portland cement with the sludge resulted in decreasing compressive strength and relationship between mass sludge quantity and water absorption percentage were not significant different; (3) the blocks in the proportion of 0, 5, 10, 15, 20, and 40 % were complied with the standard of TPCS. 602/2547 (concrete block with non weight loading) and TIS.58-2533 (concrete block with non weight loading) which was used for construct wall in the building without supporting structural weight or wall, and various parts without any loading weight apart from their own weight. The block proportion of 60 % was not pass any standards, therefore, this proportion block was not suitable for construction; and (4) the best proportion that suitable for construction was 40%. It could reduce the production cost compared with general interlocking block up to 17.48 %en_US
dc.contributor.coadvisorศริศักดิ์ สุนทรไชยth_TH
dc.contributor.coadvisorมัลลิกา ปัญญาคะโปth_TH
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
122092.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons