กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1068
ชื่อเรื่อง: การผลิตบล็อกประสานโดยใช้กากตะกอนจากกระบวนการทำน้ำเกลือให้บริสุทธิ์ของโรงงานเหมืองแร่เกลือหิน จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A production of interlocking block made of sludge from brine purification of a rock salt factory in Nakhon Ratchasima province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์
รัชนี คงเมือง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศริศักดิ์ สุนทรไชย
มัลลิกา ปัญญาคะโป
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
กากตะกอนน้ำเสีย--การใช้ประโยชน์
โรงงานอุตสาหกรรม--การกำจัดของเสีย
เหมืองแร่--ไทย--นครราชสีมา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา (1) สมบัติของกำลังรับแรงอัดและร้อยละการดูดกลืนน้ำของบล็อกประสาน ผลิตจากกากตะกอนจากกระบวนการทําน้ำเกลือให้บริสุทธิ์ อายุการบ่ม 28 วัน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณตะกอนในมวลรวมกับกําลังรับแรงอัด และร้อยละการดูดกลืนน้าของบล็อกประสานผสมกากตะกอน (3) ชนิดและสมบัติที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์จากบล็อกประสานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์และ (4) เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตบล็อกประสานโดยใช้กากตะกอนเป็นส่วนผสมกับบล็อกทั่วไปตามท้องตลาดการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยทําการศึกษาการนํากากตะกอน เป็นของเสียจากอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการทําน้ำเกลือให้บริสุทธิ์ของโรงงานเหมืองแร่ เกลือหิน ใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในสูตรที่มีอัตราการแทน ร้อยละ 0 5 10 15 20 40 และ 60 ตามลำดับ และนํามาผสมกับดินและน้ำประปาในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยน้ำหนัก อัดขึ้นรูปบล็อกประสานขนาด 12.5 X 25 X 10 เซนติเมตร จํานวนสูตรละ 10 ก้อน ทําการบ่มที่ 28 วัน นําตัวอย่าง 5 ก้อนต่อสูตรมาทดสอบหาค่ากําลังรับแรงอัดและร้อยละการดูดกลืนน้ำตาม มอก. 109 และนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐาน มผช.602/2547 มอก.57-2533 และนอก 58-2533 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน จากผลการวิจัยพบว่า (1) บล็อกประสานในสูตรที่มีอัตราการแทนที่ร้อยละ 0 5 10 15 20 และ 40 นั้น ให้ค่ากำลังรับแรงอัดเฉลี่ยสูงกว่า 2.5 เมกะพาสคัล และมีค่าร้อยละการดูดกลืนน้ำเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 8.40 -12.63 (2) ปริมาณตะกอนในมวลรามกับกําลังรับแรงอัดมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งหากการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยกากตะกอนเพิ่มขึ้นจะมีผลทําให้ค่าการรับแรงอัดลดลง และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณตะกอนในมวลรวมกับร้อยละการดูดกลืนน้ำนั้นมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) บล็อกประสานในสูตรที่มีอัตราส่วนการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยกากตะกอนร้อยละ 0 5 10 15 20 และ 40 นั้น เป็นไปตามมาตรฐาน มผช. 602/2547 คอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก และมอก 58-2533 คอนกรีตบล็อกไม่รับนํ้าหนัก ซึ่งเหมาะสําหรับก่อผนังกั้นห้องภายในอาคารที่ไม่ต้องรองรับน้ำหนักโครงสร้าง หรือก่อกำแพง ส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ต้องรองรับน้ำหนักบรรทุกใด ๆ นอกจากน้ำหนักตัวเอง ส่วนในอัตราการแทนที่ร้อยละ 60 นั้นไม่ผ่านมาตรฐานจึงไม่เหมาะในการนำมาใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง และ (4) สูตรที่มีอัตราส่วนการแทนที่ร้อยละ 40 เป็นอัตราส่วนสูงสุดที่สามารถนําไปใช้ในงานก่อสร้างได้ และสามารถลดต้นทุนการผลิตเมื่อเปรียบเทียบกับบล็อกประสานได้ถึงร้อยละ 17.48
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1068
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122092.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons