Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10696
Title: ผลการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12
Other Titles: The effects of using the SQ4R teaching method on english reading comprehension and learning retention of Mathayom Suksa V students in schools under the Secondary Education Service Area Office 12
Authors: ศิตา เยี่ยมขันติถาวร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรศักดิ์ คำสง, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ภาษาอังกฤษ--การอ่าน
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R และ (2) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 หลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R และเมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนเชียรใหญ่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 37 คน ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษอ่านเขียน 10 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษอ่านเขียนที่ใช้ วิธีสอนแบบ SQ4R และ (2) แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 หลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 หลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R และเมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10696
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166583.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons