Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10697
Title: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา จังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Effects of using a guidance activities package to develop good attitude toward learning of Mathayom Suksa V students at Rompho Wittaya school in Si Sa Ket Province
Authors: ลัดดาวรรณ ณ ระนอง
วรรณี สมเพชร, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์
ทักษะชีวิต--การศึกษาและการสอน
ทักษะชีวิต--แบบเรียนสำเร็จรูป
การแนะแนว--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ถอดบทเรียนการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม และ (2) นำเสนอแนวทางการพัฒนางานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กรณีศึกษาคือ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 70 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน บุคลากรสายสนับสนุน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และศิษย์เก่า เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม คือ (1.1) วิธีการบริหารโรงเรียนที่ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิชาการอย่างแท้จริง ตั้งแต่การร่วมกำหนดทิศทางของโรงเรียน ร่วมดำเนินงาน ร่วมประเมินผล ร่วมรับรู้ และร่วมรับผลประโยชน์ (1.2) ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน คือ คณะกรรมการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน บุคลากรสายสนับสนุน นักเรียนผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชนและศิษย์เก่า โดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้อำนวยความสะดวก และส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม (1.3) เรื่องที่ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การร่วมกำหนดทิศทางของโรงเรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การระดมทรัพยากรและสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการบริหารโรงเรียน และการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานด้านวิชาการของโรงเรียน อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มงาน และกิจกรรมที่เน้นให้บุคลากรภายในโรงเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ งานการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และการนิเทศการศึกษา และ (2) แนวทางการพัฒนางานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนที่สำคัญคือ (2.1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรพัฒนาหลักสูตรที่เน้นให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะให้มากขึ้น (2.2) งาน การจัดการเรียนการสอน ควรกำหนดนโยบาย และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกให้มากขึ้น (2.3) งานนิเทศการศึกษาควรมีการสรุปและประเมินผลการนิเทศทั้งในภาพรวม และรายกลุ่มสาระการเรียนรู้และใช้ผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาครูให้เป็นรูปธรรม และ (2.4) งานวัดผลประเมินผล ควรปรับให้มีการวัดผลประเมินตามสภาพจริงให้มากขึ้น และควรพัฒนาให้มีเครื่องมือในการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยเน้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10697
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166584.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons