Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10710
Title: | การบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 |
Other Titles: | Time management of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 |
Authors: | จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์ วฤษาย์ เลิศศิริ, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้บริหารโรงเรียน--การบริหาร ผู้บริหารโรงเรียน--การบริหารเวลา การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ (2) เปรียบเทียบการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนกตามคุณวุฒิ ประสบการณ์ในตาแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ขนาดสถานศึกษา และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จานวน 316 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการตั้งเป้าหมายในการทำงาน ด้านการวางแผนการใช้เวลาและด้านการติดตามผลการใช้เวลา ด้านการจัดตารางเวลา ด้านการขจัดหรือลดตัวการที่ทำให้เสียเวลา ด้านการจัดลำดับความสาคัญของงาน (2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนกตามคุณวุฒิ พบว่า มีการบริหารเวลาไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ขนาดสถานศึกษา และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน พบว่า มีการบริหารเวลาในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10710 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
166839.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License