Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10714
Title: | มาตราการกำหนดโทษปรับในคดีสิ่งแวดล้อม |
Other Titles: | Standard of punishment in environmental case |
Authors: | ภาณินี กิจพ่อค้า พุทธิพงษ์ สิริกุลวิวัฒ, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี กฎหมายสิ่งแวดล้อม การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง มาตรการกำหนดโทษปรับในคดีสิ่งแวดล้อมมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงลักษณะคดีสิ่งแวดล้อม ความเป็นมาของโทษปรับ แนวคิดการกำหนดโทษปรับตามวันและรายได้การวิเคราะห์ การกำหนดโทษปรับตามวันและรายได้ที่บังคับใช้ในประเทศฟินแลนด์ ประเทศสวีเดน ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวกับการนำโทษปรับตามวันและรายได้มาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขกฎหมาย โดยกำาหนดแนวทางและตัวบทกฎหมายในการนำโทษปรับตามวัน และรายได้มาใช้กับคดีสิงแวดล้อมของประเทศไทยให้เหมาะสมต่อไป การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร แนวคำพิพากษาฎีกา บทบัญญัติ ทางกฎหมาย ตำราวิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ และเอกสารอื่น ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยนำรวบรวม วิเคราะห์ เปรียบเทียบและนำเสนออย่างเป็นระบบ เสนอแนะแนวทางเกี่ยวข้องกับมาตรการ ในการนำโทษปรับตามวันและรายได้มาใช้กับคดีสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะคดีสิ่งแวดล้อมมีความพิเศษแตกต่างจากคดีทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในลักษณะของมูลคดีและผลที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและผลกระทบ ต่อประชาชนส่วนรวม จึงเป็นความผิดที่มีความร้ายแรงเป็นอย่างยิ่ง การลงโทษจึงต้องเหมาะสมและได้สัดส่วน กับความร้ายแรงของความผิด แต่โทษปรับในคดีสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยเป็นโทษปรับแบบตายตัวไม่มี ความยืดหยุ่นทำให้โทษปรับไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งในประเทศ ฟินแลนด์ ประเทศสวีเดน และประเทศสหรัฐอเมริกา มีการนำโทษปรับตามวันและรายได้มาบังคับใช้ในคดีสิ่งแวดล้อม ทำให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับความร้ายแรงของความผิด ส่งผลให้โทษปรับในคดีสิ่งแวดล้อมของทั้ง 3 ประเทศ มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ โดยการ กำหนดโทษปรับตามวันและรายได้เป็นการกำาหนดโทษปรับให้เหมาะสมกับความร้ายแรงของความผิดและสถานภาพทางเศรษฐกิจของผู้กระทำความผิด ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ จำนวนวันปรับ, จำนวนรายได้ต่อหนึ่งวันปรับและจำนวนเงินค่าปรับทั้งหมดที่ต้องชำระ จึงทำให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับผู้กระทำความผิดในแต่ละราย เนื่องจากมีการนำรายได้ของผู้กระทำผิดมาพิจารณาควบคู่กับการกำหนดโทษปรับ ส่งผลให้โทษปรับตามวันและรายได้มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์มากกว่าโทษปรับแบบตายตัวที่พิจารณาความร้ายแรงของความผิดเพียงอย่างเดียว ดังนี้น หากนำโทษปรับตามวันและรายได้มาบังคับใช้กับคดีสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยแทนโทษปรับแบบตายตัวที่บังคับใช้อยูในปัจจุบัน การบังคับใช้โทษปรับในคดีสิ่งแวดล้อม ยอมมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเต็มที่ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10714 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License