Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10715
Title: | กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด |
Other Titles: | Reconciliation justice process of drug related offenses |
Authors: | ธวัชชัย สุวรรณพานิช ภานุวัฒน์ เบ้าหล่อ, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ กฎหมายยาเสพติด--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกร |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มา แนวคิด ทฤษฎี กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหายาเสพติด โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศแคนาดา ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหภาพยุโรป และองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนศึกษาเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขให้สอดคล้องกับกระบวนการยุติกรรมทางอาญา ระบบกฎหมายของไทย และระบบงานราชทัณฑ์ เพื่อใช้แก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำเป็นการนำไปบังคับใช้ได้อย่างเหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าตัวบทกฎหมาย ตำราวิชาการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ บทความ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำการศึกษา วิเคราะห์ และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยมุ่งเน้นและคาดหวังการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามากเกินไปส่งผลให้เกิดปัญหาอาชญากรที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการเกิดอาชญากรที่แท้จริงแล้วเกิดจากครอบครัวและชุมชน การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สามารถนำมาใช้แก้ไขอาชญากรและปัญหายาเสพติดได้ เพราะหากคดียาเสพติดลดลง คดีอื่น ๆ ก็จะลดลงตามไปด้วย การแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงเป็นประเด็นหลักในการศึกษาค้นคว้า วัตถุประสงค์สำคัญของการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกเป็นมาตรการเบี่ยงเบนหรือหันเหคดีให้ออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อาญา โดยนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่มุ่งเน้นความสมานฉันท์ด้วยมาตรการเบี่ยงเบนการฟ้องคดีอาญา และนำมาตรการต่าง ๆ ๆ มาปรับใช้ในการคำนึงถึงผู้เสียหายการให้โอกาสผู้กระทำผิดกลับเป็นคนดี ให้ครอบครัว ชุมชน ร่วมแก้ไข เพื่อให้ผู้กระทำความผิดสำนึกผิดในสิ่งที่กระทำลงไป และให้ผู้กระทำความผิดสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุขผู้เสียหายและสังคมได้รับการเยียวยา ที่ถูกต้องและเป็นระบบ มีการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดเข้าใจกันและกันมากยิ่งขึ้น มีความสามัคคีขึ้นในสังคม ผู้เสียหายได้รับการเยียวยา ผู้กระทำความผิดในรับโอกาสกลับตัวเป็นคนดี สามารถใช้ชีวิต อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข ชุมชนปลอดภัย หากมีการนำรูปแบบกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในต่างประเทศมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับประเทศไทยอย่างเป็นระบบ จะสามารถแก้ไขปัญหาอาชญากรให้ลดลงได้ในระยะยาว |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10715 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License