Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10716
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณินี กิจพ่อค้าth_TH
dc.contributor.authorภูวเนศวร์ คำคุณนา, 2532-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-12-07T02:58:36Z-
dc.date.available2023-12-07T02:58:36Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10716en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกันบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดไว้เป็นพยาน เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์เปรียบเทียบการกันบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดไว้เป็นพยานของประเทศไทยและต่างประเทศ และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายในการกันบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดไว้เป็นพยาน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากตำรา หนังสือ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ บทความ วารสาร ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาล ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่เกิดจากการนำมาตรการกันบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำ ความผิดไว้เป็นพยาน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาใช้บังคับ คือ ปัญหาการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการเลือกกันบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดไว้เป็นพยาน ปัญหาการรับฟังคำให้การของพยานที่ถูกกันไว้เป็นพยานของศาล ซึ่งศาลมองว่าคำให้การของพยานอาจได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และปัญหา มาตรการทางกฎหมายที่จะดำเนินการลงโทษกับผู้ที่ถูกกันไว้เป็นพยาน กรณีไม่ไปเบิกความหรือไปเบิกความ แต่ไม่เป็นไปตามที่ให้การไว้หรือไม่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะดังนี้ ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยกำหนดให้ มีการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการเลือกกันบุคคลไว้เป็นพยาน โดยตั้งเป็นคณะกรรมการเพื่อร่วมพิจารณาในการเลือกกันบุคคลไว้เป็นพยาน โดยมีผู้แทนจากตำรวจ อัยการ ศาลยุติธรรม และกระทรวงยุติธรรม และควรกำหนดให้แจ้งผู้ร้องหรือผู้เสียหายทราบ เพื่อทำคำคัดค้านยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ควรกำหนดให้มีขั้นตอนในการ แจ้งสิทธิผู้ถูกกล่าวหาว่าหากได้ให้ถ้อยคำอัน เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้มูลความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เป็นตัวการสำคัญอาจได้รับการกันไว้เป็นพยาน เพื่อให้เป็นการแจ้งสิทธิตามกฎหมายและไม่ถือว่าเป็นการจูงใจ หรือให้คำมันสัญญา และควรกำหนดให้ศาลสามารถรับฟังคำให้การของผู้ร่วมกระทำความผิดที่ได้รับการกันไว้เป็นพยานเพื่อลงโทษจำเลยโดยไม่ต้องมีพยานหลักฐานอื่นประกอบก็ได้ และควรกำหนดให้คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สามารถไต่สวนชี้มูลความผิดกับผู้ที่ถูกยกเลิกคุ้มกันในคดีที่ได้ร่วมกระทำความผิดได้ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ให้ไว้ใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพยานบุคคลth_TH
dc.subjectกฎหมายลักษณะพยานth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับการกันบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานของรัฐไว้เป็นพยาน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561th_TH
dc.title.alternativeProblems on granting the immunity from prosecution in exchange for the testimony of the person committing offences with state officer : according to the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 256en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis Independent Study has the main purposes to study the principals, the theories and the legislations related to granting the immunity from prosecution in exchange for the testimony of person involved committing the offence, to compare the rules and the processes in this doctrine between Thailand and other countries and to find the approach to amend the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 particularly granting the immunity without prosecution. This Independent Study is the qualitative research which researched from textbooks, theses, academic articles, journals, laws, judicial precedent, electronic medias and other related documents. This Independent Study found that there were several problems of granting the immunity from prosecution in exchange for the testimony of person involved committing the offence according to promulgation of the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561. The problems were the NACC’s (National Anti–corruption Commission) discretion to decide whether to grant the immunity from prosecution in exchange for the testimony or not, the problem of trustworthiness of the such person in the court of justice and the problem of the sanction measure on the person who has been granted the immunity from prosecution but refuse to giving an evidence to the Court or giving an useless evidence to the Court. The researcher suggested that it should amend the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 by formulate checks and balances system in the NACC’s discretion by appointed the Board which comprised of representatives from the NACC, the Royal Thai Police, the Attorney General, the Court of Justice and the Ministry of Justice. Besides, in case the Board decided to grant the immunity from prosecution, the NACC has to inform the complainant or the victims to oppose such discretion, formulate the rules that the NACC has to inform the right to be granted the immunity from prosecution to the accused if the testimony from such accused could be used to punish the major culprit, and that testimony could be used as evidence in the court even though there is no any other evidence. Moreover, this right informing should not be considered as persuasion or promising to testify. and the accused who has been grant the immunity from prosecution but break the agreement should be prosecuted by the NACCen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons