กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10716
ชื่อเรื่อง: ปัญหาเกี่ยวกับการกันบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานของรัฐไว้เป็นพยาน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems on granting the immunity from prosecution in exchange for the testimony of the person committing offences with state officer : according to the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 256
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า
ภูวเนศวร์ คำคุณนา, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานบุคคล
กฎหมายลักษณะพยาน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกันบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดไว้เป็นพยาน เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์เปรียบเทียบการกันบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดไว้เป็นพยานของประเทศไทยและต่างประเทศ และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายในการกันบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดไว้เป็นพยาน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากตำรา หนังสือ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ บทความ วารสาร ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาล ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่เกิดจากการนำมาตรการกันบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำ ความผิดไว้เป็นพยาน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาใช้บังคับ คือ ปัญหาการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการเลือกกันบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดไว้เป็นพยาน ปัญหาการรับฟังคำให้การของพยานที่ถูกกันไว้เป็นพยานของศาล ซึ่งศาลมองว่าคำให้การของพยานอาจได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และปัญหา มาตรการทางกฎหมายที่จะดำเนินการลงโทษกับผู้ที่ถูกกันไว้เป็นพยาน กรณีไม่ไปเบิกความหรือไปเบิกความ แต่ไม่เป็นไปตามที่ให้การไว้หรือไม่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะดังนี้ ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยกำหนดให้ มีการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการเลือกกันบุคคลไว้เป็นพยาน โดยตั้งเป็นคณะกรรมการเพื่อร่วมพิจารณาในการเลือกกันบุคคลไว้เป็นพยาน โดยมีผู้แทนจากตำรวจ อัยการ ศาลยุติธรรม และกระทรวงยุติธรรม และควรกำหนดให้แจ้งผู้ร้องหรือผู้เสียหายทราบ เพื่อทำคำคัดค้านยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ควรกำหนดให้มีขั้นตอนในการ แจ้งสิทธิผู้ถูกกล่าวหาว่าหากได้ให้ถ้อยคำอัน เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้มูลความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เป็นตัวการสำคัญอาจได้รับการกันไว้เป็นพยาน เพื่อให้เป็นการแจ้งสิทธิตามกฎหมายและไม่ถือว่าเป็นการจูงใจ หรือให้คำมันสัญญา และควรกำหนดให้ศาลสามารถรับฟังคำให้การของผู้ร่วมกระทำความผิดที่ได้รับการกันไว้เป็นพยานเพื่อลงโทษจำเลยโดยไม่ต้องมีพยานหลักฐานอื่นประกอบก็ได้ และควรกำหนดให้คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สามารถไต่สวนชี้มูลความผิดกับผู้ที่ถูกยกเลิกคุ้มกันในคดีที่ได้ร่วมกระทำความผิดได้ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ให้ไว้ใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10716
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons