Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10729
Title: | แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 |
Other Titles: | Guidelines for development of learning management competencies in the 21st Century of early childhood teachers under Lampang Primary Educational Service Area Office 2 |
Authors: | ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์ นันทิชา ตุ่นวิชัย, 2536 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การเรียนรู้--การจัดการ ครูปฐมวัย--ไทย การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัดถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในสตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัย (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในสตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัย ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2 จำนวน 165 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริง และสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัย มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .96 และ . 98 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัย การวิเราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฎว่า (1) สภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในสตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัยในภาพรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัยสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการผู้เรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการทำงานร่วมกับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องและด้านความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และ (3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัย พบว่า สถานศึกษาควร (3.1) มีการสนับสนุนงบประมาณด้านการใช้สื่อนวัตกรรม และเทคโน โลยีสารสนเทศ ให้มีความเพียงพอต่อความต้องการ (3.2) จัดให้มีการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนของครูปฐมวัยทั้งแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการ (3.3) พัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาให้มีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (3.4) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูปฐมวัยพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยจัดอบรมพัฒนาทักษะด้านการจัดการเรียนการสอน และ (3.5) ส่งเสริมให้มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10729 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License