กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10733
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the being learning organization of institutes under Phuket Provincial Vocational Education
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธิศา ส่งศรี, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารองค์ความรู้
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดภูเก็ต 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 140 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาวะผู้นำวัฒนธรรมองค์กร การบริหารจัดการความรู้ การมีส่วนร่วม และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .78 .89 .93 1.00 1.00 และ .97 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดภูเก็ตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสถานศึกษาในภาพรวมและทุกปัจจัยอยู่ในระดับมากตามลำดับ ดังนี้ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการบริหารจัดการความรู้ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการมีส่วนร่วม 3) ปัจจัยทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามี 3 ปัจจัยเรียงตามลำดับ ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการความรู้ และการมีส่วนร่วม โดยทั้ง 3 ปัจจัยร่วมกันทำนายการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดภูเก็ต ได้ร้อยละ 52.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10733
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons