กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10746
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่เสพยาเสพติดซํ้าของผู้เข้ารับการบำบัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting non-relapse drug addiction of rehabilitative patients in Mueang District, Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีระวุธ ธรรมกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา จันทร์คง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สากียะห์ เจ๊ะสมอเจ๊ะ, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การติดยาเสพติด--ไทย--ยะลา
คนติดยาเสพติด--การติดตามผล
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ ความเชื่ออำนาจในตน การมุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้เข้ารับการบำบัด (2) อัตราของการไม่เสพยาเสพติดซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัด และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการไม่เสพยาเสพติดซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 125 คน จากทั้งหมด 250 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณแบบทราบจำนวนประชากรและสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงในด้านความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด เท่ากับ 0.74 ด้านทัศนคติต่อการไม่เสพยาเสพติดซ้ำ เท่ากับ 0.78 ด้านความเชื่ออำนาจในตน เท่ากับ 0.82 ด้านการมุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง เท่ากับ 0.99 ด้านการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดอยู่ในระดับสูง ด้านทัศนคติต่อการไม่เสพยาเสพติดซ้ำอยู่ในระดับสูง ด้านความเชื่ออำนาจในตนอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการมุ่งอนาคตและการควบคุมตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (2) อัตราของการไม่เสพยาเสพติดซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ร้อยละ 63.20 และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เสพยาเสพติดซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้แก่ อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่หยุดเสพยาเสพติด ระดับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด และระดับความเชื่ออำนาจในตน ซึ่งสามารถร่วมอธิบายโอกาสการไม่เสพยาเสพติดซ้ำได้ร้อยละ 37.80
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10746
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons