กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10750
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับพยาบาลปริศัลยกรรมในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมอง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of an enhancing competency program through electronic media for perioperating nurses to care patients with brain tumor surgery at Sunpasitthiprasong Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา สมปอง พะมุลิลา, อาจารย์ที่ปรึกษา สุลักขณา จันทวีสุข, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ การพยาบาลศัลยศาสตร์--การฝึกอบรม พยาบาล--การฝึกอบรมในงาน. สมอง--ศัลยกรรม--ผู้ป่วย--การดูแล |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับพยาบาลปริศัลยกรรมในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมอง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และ 2) ศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมอง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นพยาบาลปริศัลยกรรมระดับ 1- 4 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 39 คน กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ชื่อ "กลุ่มไลน์ก้อนเนื้องอกสมอง" สำหรับการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมองของกลุ่มตัวอย่างและแพทย์ผู้ผ่าตัด และ (2) แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลปริศัลยกรรมในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมอง ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการบูรณาการ 3 แนวคิดที่เกี่ยวกับการผ่าตัดสมอง และผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาและค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.944 และ 0.982 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า 1) โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะที่พัฒนาขึ้นมีกิจกรรม 5 กิจกรรม ได้แก่ (1) การปฐมนิเทศ (2) การให้ความรู้ (3) สถานการณ์จำลอง (4) การมอบหมายงานปฏิบัติการพยาบาล และ (5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 2) ผลการนำโปรแกรมไปใช้ พบว่า ค่าเฉลี่ยของสมรรถนะพยาบาลปริศัลยกรรมในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมอง ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (I = 4.394, SD = 447) และค่าเฉลี่ยของสมรรถนะพยาบาลปริศัลยกรรมหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10750 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License