กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10751
ชื่อเรื่อง: ความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Emotional intelligence of educational affecting knowledge management success factors in basic education schools under the Secondary Education Service Area Office 13
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา ภัสสรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
พงศกร พรหมเรืองโชติ, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ความฉลาดทางอารมณ์
การบริหารองค์ความรู้
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 (2) ศึกษาระดับปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทางการศึกษากับปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 และ (4) วิเคราะห์ความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทางการศึกษที่ส่งผลต่อปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา โดยแบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จำนวน 341 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงและวิธีการสุ่มอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบและแบบสอบถามซึ่งอยู่ในชุดเดียวกัน มีความเที่ยงเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธมศึกษาเขต 13 อยู่ในระดับสูงกว่าปกติ ได้แก่ ด้านควบคุมตนเอง ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทางการศึกษาด้านอื่นอยู่ในระดับปกติ (2) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับดังนี้ จิตสำนึกของบุคลากร การมีส่วนร่วมของบุคลากร ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหาร การประเมินเพื่อการความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทางการศึกษามีความสัมพันธ์ในชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 กับปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 และ (4) ความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 คือ ด้านรับผิดชอบ ด้านความสงบสุขทางใจ ด้านความพอใจในชีวิต ด้านการมีแรงจูงใจ ด้านสัมพันธภาพและด้านความภูมิใจในตนเอง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10751
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons