กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10756
ชื่อเรื่อง: | การจัดการความเหนื่อยล้าจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Occupational fatigue management in professional nurses at Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา เกศินี กิตติบาล, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ ความล้าในที่ทำงาน คุณภาพชีวิตการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีแบบอธิบายตามลำดับ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหนื่อยล้าจากการทำงานและการฟื้นตัวของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา 2) เปรียบเทียบความเหนื่อยล้าจากการทำงานและการฟื้นตัวของพยาบาลวิชาชีพแต่ละแผนก และ 3) ศึกษาแนวทางการจัดการความเหนื่อยล้าจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วยใน และหน่วยพิเศษ จำนวน 239 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ร่วมสนทนากลุ่ม เป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามความเหนื่อยล้าและการฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้าจากการทำงาน และ 2) แนวคำถาม การสนทนากลุ่ม แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ตั้งแต่ 0.80 - 1.00 และมีความเที่ยงเท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าจากการทำงาน และการฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้าจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และจากการสนทนากลุ่มพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ 2) พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤติมีความเหนื่อยล้าโดยรวมสูงกว่า แต่การฟื้นตัวต่ำกว่าแผนกอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการจัดการความเหนื่อยล้าจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) ระดับบุคคล ได้แก่ การนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ การทำกิจกรรมผ่อนคลายในวันหยุด การออกกำลังกาย การบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ การใช้เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การจัดการกับอารมณ์ การแลกเปลี่ยนเวรกันเองเมื่อจำเป็น และการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีด้วยตัวเอง (2) ระดับองค์กร ได้แก่ การสร้างรูปแบบการจัดการความเหนื่อยล้าจากการทำงาน การจัดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ การจัดตารางเวรอย่างเหมาะสม การจัดสรรอัตรากำลังที่เพียงพอ การสนับสนุนขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน การจัดเวลาการพักผ่อนขณะปฏิบัติงานและวันหยุดอย่างเพียงพอ การจัดห้องนอนเป็นสัดส่วนและเหมาะสมในหอผู้ป่วย การจัดสรรทรัพยากรการทำงานให้เพียงพอ และการไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนอกงาน และ (3) ระดับหน่วยงานกลาง ได้แก่ (ก) รัฐบาลมีการกำหนดนโยบายสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน การควบคุมมาตรการการจัดการปัญหาความเหนื่อยล้าจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพให้เป็นรูปธรรม การจัดอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพและบุคลากรด้านอื่น ๆ ให้เพียงพอ การสร้างขวัญและกำ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10756 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License