กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10759
ชื่อเรื่อง: ผลของรูปแบบการจัดการป้องกันการกลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่น โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of relapse prevention of amphetamine use model in adolesents in Phothong Distric, Roi-Et Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา
กชพร นะราธร, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
แอมฟิตะมิน--การควบคุม
เยาวชน--การใช้ยา
การควบคุมยาเสพติด--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) เพื่อ 1) เปรียบเทียบอัตราการกลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการไม่กลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ 3) เปรียบเทียบความคิดและพฤติกรรมในการไม่กลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำ ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างคือ วัยรุ่น คลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ผ่านการบำบัดครบตามโปรแกรมปกติของโรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการป้องกันการกลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่นคลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด 2) แบบสอบถามข้อมูลแรงจูงใจในการกลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่น 3) ข้อมูลความคิดและพฤติกรรมในการกลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่น มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .97 ค่าความเที่ยงของเครื่องมือ เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) เปรียบเทียบอัตราการกลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ หลังจากที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันการกลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่นใน 2 เดือนพบว่า วัยรุ่นในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีการกลับไปใช้สารเสพติดที่แตกต่างกัน P-value 0.035 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการไม่กลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ หลังการใช้โปรแกรมกลุ่มทดลอง วัยรุ่นมีแรงจูงใจในการไม่กลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value มากกว่า 0.001) โดยมีคะแนนแรงจูงใจในการไม่กลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำมากกว่าก่อนการใช้โปรแกรมเท่ากับ 0.708 คะแนน (95% Ci, 0.39, 1.02) 3) เปรียบเทียบความคิดและพฤติกรรมในการไม่กลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำ ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบหลังการใช้โปรแกรมกลุ่มทดลอง วัยรุ่นมีความคิดและพฤติกรรมต่อการเลิกใช้แอมเฟตามีนมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value มากว่า 0.001) โดยมีคะแนนความคิดและพฤติกรรมในการไม่กลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำ มากกว่าก่อนการใช้โปรแกรม เท่ากับ 0.67 คะแนน (95% Ci, -0.348, -1.006) เป็นไปตามสมมติฐาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10759
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons