กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10760
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of a health behaviors developing program for hypertension patients at Rattanaburi, Surin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชรินรัตน์ ศิริทวี, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์
ความดันเลือด--โรค
พฤติกรรมสุขภาพ
ผู้ป่วย--การปรับพฤติกรรม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่มารับการรักษาที่คลินิกพิเศษความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลรัตนบุรี อายุ 35-65 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่ 5, 6, 7, 10 ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ และมารับการรักษาที่คลินิกพิเศษความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสำโรงทาบ ซึ่งอาศัยอยู่ในตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ในการคัดเข้าศึกษา เป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เป็นโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดแบบจำลองพรีสีด-โพรสีดของกรีนและครูเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ มี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 พฤติกรรมสุขภาพ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .83 และมีค่าความเที่ยง .72 (2) เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิทัล สายวัดและเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิทัล (3) แบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติการทดสอบที สถิติการทดสอบวิลคอกซันแมทชแพร์สซายน์แรงค์ และสถิติการทดสอบแมนวิทนีย์ยู ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังทดลอง กลุ่มทดลอง มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและรายด้านทุกด้านสูงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) หลังทดลอง กลุ่มทดลอง มีความดันโลหิตชิสโตลิกและไดแอสโตลิก ดัชนีมวลกายและรอบเอว ต่ำกว่าก่อนทดลอง ความดันโลหิตซิสโตลิกต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ดัชนีมวลกายลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ แต่ความดันโลหิตไดแอสโตลิกและรอบเอวไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10760
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons