กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10762
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พักภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effectiveness of policy implementation of labour productivity in accommodation services in tourism sector
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรวัน จันทรังษี, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
นโยบายแรงงาน--ไทย
การบริหารแรงงาน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพัฒนาการของนโยบายการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พักภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย (2) ศึกษาประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พัก ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พัก ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย และ (4) เสนอแนะกลยุทธ์นโยบายเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พัก ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางและการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิเคราะห์เชิงพัฒนาการนโยบาย ประชากร คือ ผู้ประกอบการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวทุกภูมิภาคจำนวน 9,556 แห่ง ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 117 แห่งโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามโดยใช้กับผู้ประกอบการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว 2) แบบสัมภาษณ์ใช้กับเจ้าหน้าที่รัฐ จากหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการท่องเที่ยว กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยตรง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ทีเทส เอฟเทสและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) พัฒนาการของนโยบายแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก พ.ศ. 2550-2554 เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมจูงใจให้เพิ่มผลิตภาพแรงงาน ช่วงที่สอง พ.ศ. 2555-2559 เน้นการปรับมาตรฐานฝีมือ/วิชาชีพรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ และช่วงที่สาม พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน เน้นการพัฒนาความสามารถแรงงานตามนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (2) ระดับประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พักภาคการท่องเที่ยวไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พักภาคการท่องเที่ยว คือ ปัจจัยด้านแรงงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม โดยมีความสามารถในการอธิบายประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติได้รวมร้อยละ 70.4 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 (4) กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้ ได้แก่ การปรับบทบาทภาครัฐให้เป็นผู้ควบคุมกระบวนการเพิ่มผลิตภาพและสนับสนุนพัฒนาผลิตภาพแรงงานระดับบุคคลและสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ควรทบทวนภารกิจ/โครงการ/กิจกรรมจากภาครัฐที่ดำเนินงานคล้ายกันเพื่อประหยัดงบประมาณ ลดขนาดภาครัฐ และให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียม ส่งเสริมการนำนโยบายการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไปปฏิบัติตั้งแต่ระดับบุคคล อันส่งผลต่อสถานประกอบการและประเทศ ทบทวนการออกแบบโครงการ/กิจกรรมให้แรงงานทำงานหลากหลาย เนื่องจากมีความไม่แน่นอนของปัจจัยสภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี และควรให้ความสำคัญของการปรับบทบาทหน่วยงานรัฐเป็นผู้ควบคุมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพแรงงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10762
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม42.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons