กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10765
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยหอบหืด โรงพยาบาลชุมชนระดับทุติยภูมิ จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Self-management model for asthma patients at secondary community hospitals in Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญสืบ โสโสม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิณทอง จอมพุก, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
ผู้ป่วยโรคหืด--การดูแล
ผู้ป่วย--การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การจัดการการดูแลผู้ป่วยหอบหืดโรงพยาบาลชุมชนระดับทุติยภูมิ จังหวัดสระบุรี 2) สร้างรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยหอบหืดและ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่ม 1 สำหรับวิเคราะห์การจัดการการดูแลผู้ป่วยหอบหืด ได้แก่ แพทย์ 4 คน พยาบาล 4 คน เภสัชกร 4 คน และนักกายภาพบำบัด 4 คน และผู้ป่วย 4 คน และญาติ 4 คน กลุ่มที่ 2 สำหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ผู้ให้บริการ 2 คน ผู้รับบริการ 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน รวม 7 คน เครื่องมือในการวิจัยมี 2 ชุด ได้แก่ (1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อวิเคราะห์การจัดการการดูแลผู้ป่วยหอบหืดสำหรับผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มี 2 ส่วน และ (2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือทั้ง 2 ชุด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของชุดที่ 1 ส่วนที่ 1 และ 2 เท่ากับ 0.78 , 0.84 และชุดที่ 2 เท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยหอบหืดจำนวนหนึ่งยังมีความรู้และความสามารถไม่เพียงพอต่อการจัดกาการดูแลตนเองได้ และผู้ให้บริการ ครอบครัวและชุมชนจำเป็นต้องมีบทบาทสนับสนุนการจัดการการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2) รูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยหอบหืดประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) บทบาทผู้ให้บริการ (2) บทบาทของครอบครัวและชุมชนและ (3) บทบาทของผู้ป่วย และ 7 องค์ประกอบย่อย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยจัดการการดูแลตนเองได้ได้แก่ (1) การจัดบริการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยงจากโรงพยาบาลสู่บ้าน (2) การทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยให้ผู้ป่วยหรือญาติร่วมตั้งเป้าหมาย (3) พัฒนาระบบการลงบันทึกข้อมูลผู้ป่วยหอบหืดและนำผลมาวิเคราะห์มาใช้กับผู้ป่วย (4) พัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยหอบหืด และแนวทางการให้สุขศึกษาผู้ป่วยหอบหืด (5) พัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการจัดการรายกรณีผู้ป่วยหอบหืด (6) ส่งเสริมการจัดการการดูแลตนเองของผู้ป่วยในด้านการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และด้านการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพ และ (7) ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการการดูแลตนเองของผู้ป่วย และร่วมพัฒนาสิ่งแวดล้อม และ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยหอบหืด พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมร้อยละ 84.53
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10765
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons