กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10766
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุโรงพยาบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a fall prevention model for elderly patients at a Provincial Administrative Organization Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ จิตรมนตรี อาจารย์ที่ปรึกษา
ฟาอิส วาเลาะแต, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
การหกล้มในผู้สูงอายุ--การป้องกัน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ 2) สร้างรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ ในโรงพยาบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) ศึกษาผลการนำรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในโรงพยาบาลดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จาก 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) หลักฐานเชิงประจักษ์ จากฐานข้อมูลต่างประเทศ ได้แก่ สถาบันโจแอนนาบริกส์ ห้องสมุดคอเครน และจากฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย กลุ่ม 1 และ 2 และ (2) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุที่พัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินคุณภาพของหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และ 4) แบบประเมินผลการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ตรวจสอบเครื่องมือได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสืบค้นอย่างเป็นระบบ จำนวน 27 บทความ จากฐานข้อมูลต่างประเทศ 19 บทความ มีค่าคุณภาพงานวิจัยระดับมาก และจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย 8 บทความ และ 2) รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมโดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม (2) การวางแผนการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม (3) การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม และ (4) การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม และ 3) ผลการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในโรงพยาบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเหมาะสม 4 ด้าน ได้แก่ (1) การใช้เวลาน้อยที่สุด (2) เข้าใจได้ง่ายที่สุด (3) มีความสะดวกมากที่สุด และ (4) มีความชัดเจนและครอบคลุมขั้นตอนการนำไปใช้มาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10766
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons