กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10773
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมควบคุมโรคและระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of a home visits program and family's participation on health behaviors to control diabetes mellitus and blood sugar level of gestational diabetic women Nonghan Hospital, Udontani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงกมล ปิ่นเฉลี่ยว, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกานดา พลบุตร, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์--การควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมควบคุมโรคและระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเยี่ยมบ้านและการมีส่วนร่วมของครอบครัว กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิดคลาสเอวัน ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการเยี่ยมบ้านและการมีส่วนร่วมของครอบครัว โดยประยุกต์ตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสัน (1995) ประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และสมุดบันทึกการเยี่ยมบ้าน และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมควบคุมโรคเบาหวาน และแบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.86-1.0 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หลังเข้าร่วมโปรแกรมดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หลังเข้าร่วมโปรแกรมต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10773
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons