Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10775
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมแรงจูงใจผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง
Other Titles: Effectiveness of a motivational enhancing program via electronic communication for hypertension prevention in high-risk persons
Authors: สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนตรี บุญเรืองเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัมภรณ์รัตน์ มากแก้ว, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์
ความดันเลือดสูง--โรค--การป้องกัน
การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลของโปรแกรมเสริมแรงจูงใจผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อแรงจูงใจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง (2) ผลของโปรแกรมเสริมแรงจูงใจผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ (3) ผลของโปรแกรมเสริมแรงจูงใจผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อความดันเลือดแดงเฉลี่ยของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการทหารที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน ซึ่งถูกสุ่มอย่างมีระบบ และจับคู่ด้วยระดับความดันโลหิตอายุ และมีกรรมพันธุ์เป็นโรคความดันโลหิตสูง เครื่องมือดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมเสริมแรงจูงใจผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองแรงจูงใจของเคลเลอร์ มีระยะเวลา 8 สัปดาห์กิจกรรมประกอบด้วย (1) การกระตุ้นความสนใจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเสนอข้อมูลข่าวสารและความรู้ การตั้งคำถาม (2) การปรับความสัมพันธ์ โดยการสอบถามเป้าหมายและความคาดหวังและปรับกิจกรรมให้เข้ากับเป้าหมาย (3) การเสริมความเชื่อมั่น โดยใช้วีดีทัศน์และแผ่นภาพ ให้ทดลองทำ และชมเชยให้กำลังใจ (4) การตอบสนองความพึงพอใจ โดยสอบถามความพึงพอใจและมอบรางวัลบุคคลที่ชนะการแข่งขัน (5) การกระตุ้นการตัดสินใจด้วยตัวเอง โดยให้วิเคราะห์และการแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลองเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1 แบบสอบถาม มี 4 ส่วน ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป แรงจูงใจ พฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และผลการประเมินร่างกาย ส่วนที่ 2 และ 3 มีดัชนีความตรงเท่ากับ . 73 และ . 95 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ .80 และ .93 ตามลำดับ และ 2) เครื่องวัดความดันโลหิต สายวัดรอบเอว และเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที่ผลการวิจัย พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรม 1) กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นกลุ่มทดลองมีแรงจูงใจและพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นกลุ่มทดลองมีความดันเลือดแดงเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีค่าน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10775
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons