Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10784
Title: ประสบการณ์ด้านจิตใจในการตัดสินใจครองโสดของผู้หญิงไทย
Other Titles: Psychological experiences of Thai women who decided to remain single
Authors: จิระสุข สุขสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาถ แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉัตรศรีผ่อง ศิริภักดิ์, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์
สตรีโสด--การดำเนินชีวิต
สตรีโสด--แง่จิตวิทยา
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจในการตัดสินใจครองโสดของผู้หญิงไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้หญิงไทย มีสถานภาพโสด จำนวน 10 คน ได้โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง มีเกณฑ์พิจารณา คือ (1) เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป (2) มีสัญชาติไทย (3) ไม่ผ่านการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่มีความสัมพันธ์ฉันคู่รักกับใครและไม่ได้อยู่กินกับใครโดยพฤตินัย (4) ไม่มีการคบหาดูใจกับใครนานเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป (5) ไม่มีปัญหาทางการได้ยินหรือการใช้ภาษา และสามารถสื่อสารและเข้าใจภาษาไทยได้ และ (6) มีความสมัครใจเข้าร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (2) แบบบันทึกภาคสนาม (3) แบบบันทึกการสังเกต และ (4) เครื่องบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยปรากฏว่า ประสบการณ์ด้านจิตใจในการตัดสินใจครองโสดของผู้หญิงไทยพบ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ (1) พื้นฐานชีวิตเรื่องความรัก แบ่งเป็นประเด็นรอง 2 ประเด็น คือ (1.1) เคยมีประสบการณ์ด้านความรักมาก่อน และ (1.2) ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านความรัก (2) การตัดสินใจครองโสดแบ่งเป็นประเด็นรอง 5 ประเด็น คือ (2.1) รู้สึกเหงาบ้างบางเวลา (2.2) การพึ่งตนเองได้และมีอิสระในการใช้ชีวิต (2.3) ตัวอย่างชีวิตที่ล้มเหลวของคนในครอบครัวและเพื่อนสนิท (24) การทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองเพื่อลดการพึ่งพาบุคคลอื่น และ (2.5) การมีเงินใช้และเก็บออมมากขึ้น (3) กิจกรรมยามว่างหลังการตัดสินใจครองโสด แบ่งเป็นประเด็นรอง 3 ประเด็น คือ (3.1) การดูแลครอบครัว (3.2) การออกกำลังกาย และ (3.3) การพบปะสังสรรค์กับเพื่อน และ (4) การวางแผนของชีวิตในอนาคต แบ่งเป็นประเด็นรอง 2 ประเด็นคือ (4.1) การได้มีโอกาสดูแลครอบครัว และ (4.2) การสร้างความสุขให้ตัวเอง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10784
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons