กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10788
ชื่อเรื่อง: | การเปิดรับ การรู้เท่าทัน และผลกระทบจากการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนจังหวัดปัตตานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Exposure to and impact of online media and media literacy of youth in Pattani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยฉัตร ล้อมชวการ ณัฏฐ์ ฐนันท์รมย์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กมลรัฐ อินทรทัศน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ การรู้เท่าทันสื่อ อินเทอร์เน็ตกับเยาวชน |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ การรู้เท่าทัน และผลกระทบจากการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนจังหวัดปัตตานีเกี่ยวกับ 1 พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ 2) การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ 3) ผลกระทบจากการใช้สื่อออนไลน์ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนจังหวัดปัตตานีตามลักษณะทางประชากร 5) เปรียบเทียบความแตกต่างการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนจังหวัดปัตตานีตามพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ และ 6) เปรียบเทียบความแตกต่างการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนจังหวัดปัตตานีตามระดับการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนอายุระหว่าง 15-18 ปี ในจังหวัดปัตตานี จำนวน 397 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า 1) เยาวชนจังหวัดปัตตานีมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อเฟซบุ๊กมากที่สุด โดยใช้บริการออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านสื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด ใช้สื่อออนไลน์ที่บ้านหรือที่พักมากที่สุด ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทุกวัน เฉลี่ยครั้งละ 30 - 60 นาที 2) เยาวชนจังหวัดปัตตานีมีการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์อยู่ในระดับมาก ในประเด็นการเลือกใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ได้โดยสามารถเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับตัวเองได้ 3) เยาวชนจังหวัดปัตตานีได้รับผลกระทบจากการใช้สื่อออนไลน์ด้านการเรียน ด้านครอบครัว ด้านอารมณ์ และด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลางเท่ากันทั้ง 4 ด้าน 4) เยาวชนจังหวัดปัตตานีที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนแตกต่างกันมีการใช้สื่อออนไลน์ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) เยาวชนจังหวัดปัตตานีที่มีพฤติกรรมการใช้บริการสื่อออนไลน์ คือความถี่ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 6) เยาวชนจังหวัดปัตตานีที่มีการใช้สื่อออนไลน์ต่างกันมีระดับการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10788 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License