กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10797
ชื่อเรื่อง: การใช้สื่อสังคมเพื่อการเรียนของนักเรียนเกรด 4-6 โรงเรียนยุวฑูตศึกษาพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Social media usage for learning of Grade 4-6 students at Ambassador Bilingual School in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันณ์นภัส เรือนประเสริฐ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
สื่อสังคมออนไลน์--กิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อสังคมเพื่อการเรียนของนักเรียนเกรด 4-6 โรงเรียนยุวฑูตศึกษาพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ด้านข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีระดับการศึกษาเกรด 5 มีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ประเภทอุปกรณ์ที่ใช้มากที่สุด คือ สมาร์ตโฟน โดยทุกคนใช้สื่อสังคม มีความสามารถในการใช้สื่อสังคมระดับพื้นฐาน ส่วนใหญ่เรียนรู้การใช้สื่อสังคมด้วยตนเองจากสื่อในอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่ใน 1 สัปดาห์ที่ใช้สื่อสังคมทุกวัน ในวันธรรมดาเวลาที่เข้าถึงสื่อสังคมมากที่สุด คือ ช่วง 19.00 - 21.00 น. ในวันหยุดเวลาที่เข้าถึงสื่อสังคมมากที่สุด คือ ช่วง 19.00 - 21.00 น. ทุกคนมีการจำกัดระยะการใช้สื่อ ใน 1 วัน โดยระยะเวลาที่ถูกจำกัดการใช้สื่อสังคม คือ 3 - 4 ชั่วโมงต่อวัน (2) ด้านวัตถุประสงค์การใช้สื่อสังคมเพื่อการเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน โดยมีรายละเอียดแต่ละด้าน ได้แก่ (2.1) ด้านการศึกษาและค้นคว้าข้อมูล นักเรียนใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลความรู้ที่ตนเองสนใจ (2.2) ด้านความบันเทิงและติดตามข่าวสารในชีวิตประจำวัน นักเรียนใช้เพื่อเล่นเกม และ (2.3) ด้านการติดต่อสื่อสารและสร้างเครือข่ายออนไลน์ นักเรียนใช้เพื่อพูดคุยสื่อสารกับคนในครอบครัว และ (3) ด้านผลกระทบการใช้สื่อสังคมเพื่อการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การเรียน ด้านจิตใจ และด้านครอบครัว โดยมีรายละเอียดแต่ละด้าน ได้แก่ (3.1) ด้านการเรียน ผลกระทบทางบวกด้านการเรียน ทำให้นักเรียนเก่งภาษามากขึ้น ส่วนผลกระทบทางลบด้านการเรียน ทำให้นักเรียนละเลยที่จะติดตามข่าวสารข้อมูลต่างๆ รอบตัวที่น่าสนใจ (3.2) ด้านจิตใจ ผลกระทบทางบวกด้านจิตใจ ทำให้นักเรียนมีความสุข ส่วนผลกระทบทางลบด้านจิตใจ ทำให้นักเรียนโกรธง่าย ชอบบ่น และ (3.3) ด้านครอบครัว ผลกระทบทางบวกด้านครอบครัว ทำให้นักเรียนมีโอกาสได้สื่อสารกับผู้ปกครองมากขึ้น ส่วนผลกระทบทางลบด้านครอบครัว ทำให้พ่อแม่ไม่ค่อยมีกฎเกณฑ์ในบ้านเรื่องการแบ่งเวลาใช้สื่อสังคม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10797
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168950.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons