Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10800
Title: | ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี |
Other Titles: | Needs for professional learning community enhancement in Sainampeung School under the Patronage of HRH Princess Petcharat Rajsuda Sirisopaphannawadee |
Authors: | ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์ วรัญญา สมวงค์, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสายน้ำผึ้งฯ (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสายน้ำผึ้งฯ และ (3) เสนอแนวทางการเสริมสร้างความเป็นชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสายน้ำผึ้งฯ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพที่เป็นจริงของการเสริมสร้างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เรียงลำดับความต้องการจำเป็นที่สุด 3 ด้าน คือ การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก การสนับสนุนทางโครงสร้างและปัจจัยแวดล้อม และการพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาชีพตามลำดับ และ (3) แนวทางการเสริมสร้างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้นักเรียน ผู้ปกครอง หน่วยงานภายนอกมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายกับสถาบันผลิตครูเพื่อร่วมพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น สิ่งอำนวยความสะดวก และเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนการพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาชีพของครูโดยการส่งเสริมให้ครูเข้ารับการพัฒนาตนเองและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10800 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168945.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License