กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10805
ชื่อเรื่อง: การผลิตเครื่องแกงของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราชให้ได้ตามมาตรฐานอาหารปลอดภัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Curry paste production according to food safety standardization by farm women groups in Tham Phannara District of Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัชชา ขับกล่อมส่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกอร ตรีไวย, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
น้ำพริกแกง--การผลิต
เกษตรกรสตรี--ไทย--นครศรีธรรมราช
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (2) กระบวนการผลิตเครื่องแกงตามมาตรฐานการผลิตขั้นต้น ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (3) การผลิตเครื่องแกงให้ได้ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (4) การปฏิบัติตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์เครื่องแกงของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (5) ปัญหาและความต้องการของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตเครื่องแกงให้ได้ตามมาตรฐานอาหารปลอดภัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตเครื่องแกงในอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช 8 กลุ่ม จำนวน 184 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 136 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอายุเฉลี่ย 53.98 ปี จบชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพการเกษตรคือการผลิตพืช ระยะเวลาที่เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 4.48 ปี รายได้จากการเป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 1,902.54 บาทต่อปีต่อครัวเรือน การได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิตเครื่องแกงจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและจากข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต (2) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกือบทั้งหมดปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตขั้นต้นทุกข้อทุกครั้ง (3) การผลิตเครื่องแกงให้ได้ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร คุณลักษณะที่ต้องการและการบรรจุ มีการปฏิบัติตามมาตรฐานทุกครั้ง ส่วนเครื่องหมายการค้าและฉลากยังมีบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน (4) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีการปฏิบัติตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ทุกครั้ง และ (5) ปัญหาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการผลิตเครื่องแกงให้ได้ตามมาตรฐานอาหารปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาด้านอื่นๆ อยู่ในระดับน้อย สำหรับความต้องการของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการผลิตเครื่องแกงให้ได้ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรอยู่ในระดับมาก มาตรฐานการผลิตขั้นต้น และมาตรฐานบรรจุภัณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ และสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความพร้อมเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยจำนวน 3 กลุ่มจาก 8 กลุ่ม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10805
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons