กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10811
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of farmers for longan production and marketing in Pa Daet District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เมวิกา นางแล, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ลำไย--การผลิต--ไทย--เชียงราย
ลำไย--การตลาด--ไทย--เชียงราย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตและการตลาดลำไย 3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดลำไย และ 4) ปัญหาข้อเสนอแนะของเกษตรกรด้านการผลิตและการตลาดลำไย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ในอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย และขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2561 จำนวน 355 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 9.07 ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 165 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.41 ปี ระดับการศึกษามัธยมตอนปลาย สมาชิกทั้งหมดในครัวเรือน เฉลี่ย 4.02 คน มีประสบการณ์ในการผลิตเฉลี่ย 16.23 ปี เมื่อมีปัญหาในการปลูกลำไยส่วนใหญ่จะศึกษาด้วยตนเอง ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้ด้านการผลิตและการตลาดลำไยจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีพื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 7.76 ไร่ มีจำนวนแรงงานทางการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.38 คน ส่วนใหญ่มีการจ้างแรงงานในการผลิตลำไยปุ๋ยเฉลี่ย 2,914.13 บาท มีค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูลำไยเฉลี่ย 1,723.76 บาท และค่าสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชเฉลี่ย 1,606.55 บาท โดยกู้ยืมเงินจาก ธ.ก.ส. ผลผลิตลำไยเฉลี่ย 1,406.97 กิโลกรัม มีรายได้เฉลี่ยต่อไร่ 36.355.64 บาท และรายจ่ายจากการผลิตลำไยเฉลี่ยต่อไร่ 6,715.16 บาท 2) สภาพการผลิตและการตลาดลำไย พบว่า ด้านการผลิตส่วนใหญ่เกษตรกรปลูกลำไยพันธุ์อีคอ คนที่ปลูกเป็นดินร่วน เกษตรกรไม่มีการตรวจวิเคราะห์ดิน โดยใช้ระยะปลูก 8x8 เมตร ใส่ปุ๋ยโดยการหว่านและให้น้ำลำไยโดยผ่านทางท่อและสายยาง ป้องกันกำจัดโรคพืช แมลง และวัชพืชโดยการพ่นสารเคมี และดูขนาดผลเป็น ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้านการตลาดเกษตรกรส่วนใหญ่เก็บรวบรวมผลผลิตและขายเองในลักษณะเพื่ออบแห้ง เกษตรกรส่วนใหญ่ทราบราคาขายส่ง ขายปลีกลำไยจากพ่อค้าในท้องถิ่น และได้รับเงินทั้งหมดเมื่อขายผลผลิตทั้งหมดแล้ว 3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดลำไย พบว่า เกษตรกรต้องการให้ส่งเสริมในด้านแมลงและโรคระบาด ด้านการผลิตลำไย การตลาดลำไย และการเพิ่มมูลค่าสินค้า 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิต ด้านการตัดแต่งกิ่งและแมลงระบาด ส่วนด้านการตลาด ด้านการตลาด ราคาผลผลิตลำไยตกต่ำราคาเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน และผลผลิตลำไยล้นตลาด ข้อเสนอแนะควรมีการให้ความรู้ในการผลิตที่ถูกต้องและลดต้นทุนในการผลิต รวมทั้งการประกันราคาเพื่อแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10811
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons